โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่วัยทำงานมีความเสี่ยงที่จะเป็นสูง สัญญาณเตือนของอาการที่พบบ่อยมี 3 อาการ ได้แก่
- ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้ม เอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือพบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเม้าท์ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรง จนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้
ป้องกันหรือเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม
- ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสม นั่งสบาย
- หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตาการพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ
- ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตา จากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์
- ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ พักสายตาทุก 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขน ทุก 1 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเท
- ออกกำลังเป็นประจำ
- ตรวจสุขภาพประจำปี
กลุ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนากำลังคนฯ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
27 พฤษภาคม 2562