คำแนะนำการป้องกันความเสี่ยง รับและส่งผู้ติดเชื้อ

  • 8 พฤศจิกายน 2564
คำแนะนำการป้องกันความเสี่ยง รับและส่งผู้ติดเชื้อ

คำแนะนำการป้องกันความเสี่ยง สำหรับผู้ให้บริการรับและส่งผู้ติดเชื้อ COVID-19

  • ผู้ให้บริการรับ – ส่ง 
      • ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19
      • ขณะปฏิบัติงานต้องสวมชุด Semi-PPE ได้แก่ ชุดกันเปื้อน ชุดกันฝน หน้ากากอนามัย หมวก ถุงมือ และรองเท้าบูท 
      • ต้องเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงาน สำหรับชุดกันเปื้อนให้เปลี่ยนใหม่ทุกวัน
      • เมื่อเสร็จภารกิจแต่ละวันต้องถอดชุดป้องกันทิ้งในรูปแบบมูลฝอยติดเชื้อ อาบน้ำด้วยสบู่ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดก่อนกลับบ้าน และเฝ้าระวังอาการหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
  • การจัดการภายในยานพาหนะ
      • จัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงาน เช่น แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ หน้ากากอนามัย ถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ให้ใช้ถุงแดงที่ระบุหรือมีป้ายระบุ “มูลฝอยติดเชื้อ ผู้ติดเชื้อโควิด-19” และจัดเตรียมถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ในลักษณะเดียวกัน กรณีผู้ติดเชื้ออาเจียน รวมทั้งมีถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อแบบมีฝาปิด เป็นต้น 
      • ให้มีฉากกั้นระหว่างพื้นที่ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ 
      • มีการระบายอากาศภายในห้องผู้ให้บริการรับและส่งผู้ติดเชื้อและห้องผู้ติดเชื้ออย่างเพียงพอ
  • ขอปฏิบัติการเคลื่อนย้าย
      • ต้องระมัดระวังในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อที่มีอาการไอ จาม ควรให้ผู้ติดเชื้อสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
      • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก โดยไม่จำเป็น และล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนขึ้นยานพาหนะและระหว่างอยู่ในยานพาหนะ ให้ใช้การสื่อสารทางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารเท่านั้น
      • ไม่ควรให้ผู้ติดเชื้อลงจากยานพาหนะ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น เช่น การกินอาหาร เข้าห้องส้วม ให้จอดบริเวณที่ทางราชการกำหนด เช่น ศูนย์พักรถ ที่ทางกองบังคับการตำรวจทางหลวงกำหนด
      • ระหว่างเดินทางหากร่างกายสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อให้ใช้กระดาษชำระเช็ดออกทันที แล้วเช็ดบริเวณที่ปนเปื้อนด้วยแอลกอฮอล์ และล้ามือด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วยผสมของแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
      • หากมีผู้ตืดเชื้อเกิดอาการผิดปกติหรือมีเหตุฉุกเฉินขณะเดินทาง ให้ติดต่อสายด่วน 1669 หรือ 1330 เพื่อส่งผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง 
    1. ในกรณีจำเป็นต้องจอดพัก เช่น การกินอาหาร เข้าห้องส้วม ในจอดบริเวณที่ทางราชการกำหนด เช่น ศูนย์พักรถที่ทากองบังคับการตำรวจทางหลวงกำหนด
  • การทำความสะอาดหลังให้บริการ
    • ให้เก็บกวาดสิ่งสกปรกออกก่อน และทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือใช้น้ำผสมสบู่ หรือผงซักฟอกเช็ดถูพื้นผิว ส่วนการฆ่าเชื้อพื้นผิวภายในยานพาหนะ ให้เช็ดเบาะที่นั่ง ที่จับ พื้นรถ ผนัง เพดาน ภายในทั้งหมดในบริเวณห้องโดยสารผู้ติดเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยเปิดหน้าต่าง ประตูระบายอากาศหลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกครั้ง
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH