เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “หวาน” คนส่วนใหญ่มักคิดถึงน้ำตาล น้ำตาลทำไมถึงทำให้ติดได้ติดแล้วมีผลต่อสุขภาพอย่างไร การกินหวานไม่ผิด…แต่กินอย่างไรให้พอดี มีผลดีต่อสุขภาพ และไม่ติดหวาน
เชื่อหรือไม่!!!ว่าคนเราติดหวานได้ตั้งแต่ในท้องแม่!!
คนเราสัมผัสความหวานได้จากตุ่มรับรสในลิ้นพัฒนาตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาซึ่งทารกจะได้รับรสหวานจากน้ำคร่ำ ซึ่งมีกลูโคสฟรุกโตสกรดแลคติค กรดไขมัน และอื่นๆ เป็นส่วนประกอบนอกจากนี้ อาหารที่มีรสชาติต่างๆ ที่มารดากินขณะตั้งครรภ์ส่งผ่านทางรกสู่น้ำคร่ำได้ด้วยการศึกษาในทารกดูดนมแม่และน้ำหวานพบว่าทารกดูดน้ำหวานแรงและยาวนานกว่านมแม่ทั้งยังเพิ่มความต้องการขึ้นเรื่อยๆ ทารกติดหวานเสียแล้วน้ำตาลให้พลังงานก็จริง ทำให้รู้สึกสดชื่นเร็วแต่ปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากต่อมในตับอ่อน เพื่อควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ โดยจะนำน้ำตาลไปเก็บในรูปของไกลโคเจน กรดไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลซึ่งทำให้อ้วน เส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล ถ้าร่างกายได้รับน้ำตาลมากเป็นประจำต่อมในตับอ่อนจะทำงานหนักจนการผลิตฮอร์โมนอินซูลินผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่ายตามมาด้วยไตวายและต้อกระจกนักโภชนาการถือว่าน้ำตาลเป็นสารที่ให้พลังงานชนิดหนึ่งเรียกว่า พลังงานว่างเปล่า(Empty Energy)หมายถึงให้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ให้คุณค่าทางโภชนาการเป็นอาหารที่ปราศจากกากใย ไม่มีวิตามิน แร่ธาตุและโปรตีนร่างกายมนุษย์ไม่จำเป็นต้องกินน้ำตาลก็ดำรงอยู่ได้ เพราะร่างกายสามารถรับน้ำตาลจากอาหารอื่นๆ ทั่วไป อาทิ ข้าว แป้ง ผักและผลไม้ที่กินกันอยู่ทุกวันซึ่งมีสารประเภทน้ำตาลรวมอยู่ในอาหารนั้นๆอยู่แล้ว แค่นี้ก็พอเพียงต่อการบริโภคน้ำตาลในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้ “ ติดหวาน ” คุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไม่ควรกินหวานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และต่อด้วยนมรสจืดเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
[แม่และเด็ก]