ผู้สูงอายุ

สูงวัย อายุยืน

  • 10 กันยายน 2562

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เทียบจากอัตราประชากรทั้งหมดของประเทศไทย 64.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี 9.4 ล้านคน และเพิ่มขึ้นปีละ 500,000 คน ซึ่งคาดว่าภายในปี 2568 ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุ 14.4 ล้านคน หรือเกินร้อยละ 20 พบว่า มีผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 85 หรือ 6 ล้านคน ดูแลตนเองได้ อีกร้อยละ 15 หรือ 1 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่นอน   ติดเตียง ติดบ้าน และต้องพึ่งพิงคนอื่น โรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และข้อเสื่อม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สายตาไม่ดี มองเห็นไม่ชัดเจน 

วิธีที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสดใสอยู่เสมอ มีดังนี้

อาหาร  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นย่อยง่ายและสะอาด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ออกกำลังกาย  ออกกำลังกายทุกส่วนสัด กระตุ้นจังหวะการเต้นหัวใจ ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเหมาะสม ซึ่งมีอยู่หลากหลายวิธี เช่น ยืดเส้น ยืดสาย ยืดเหยียด ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง 

อารมณ์  อารมณ์รื่นเริงยินดี ชีวีสดใสด้วยรอยยิ้ม มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด จะช่วยให้มีจิตใจแจ่มใส และให้คำปรึกษาคำแนะนำแก่ลูกหลาน และคนรอบข้างได้ด้วย

อดิเรก  สร้างสรรค์งานอดิเรก เพิ่มพูนคุณค่า เกื้อกูลสังคม โดยหากิจกรรมงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น อ่านหนังสือ ธรรมมะ ฟังเทศน์ ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้

อนามัย  อนามัยดี ชีวีมีสุข นำพาอายุยืนยาว สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หมั่นตรวจและรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละครั้ง 

รวมทั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีมีอากาศบริสุทธิ์ ขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ระมัดระวัง อุบัติเหตุ เพียงเท่านี้ การมีอายุยืนยาวสำหรับผู้สูงวัย ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH