แม่และเด็ก

ลืมไปเลย กับคำว่า “ไม่” “อย่า” “ห้าม” “หยุด” แต่ให้เปลี่ยนเป็นคำพูดเชิงบวกดีกว่า

  • 4 มิถุนายน 2563
คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ที่เลี้ยงเด็ก เคยลองนับกันเล่น ๆ ไหมคะว่า ในหนึ่งวัน เรา พูดคำว่า “ ไม่” “อย่า” “ห้าม” “หยุด” กับลูก กี่ครั้งกัน ยิ่งลูกอยู่ในวันซนด้วยแล้ว คำห้ามข้างบนที่แม่พูดอาจจะเกิน สิบนิ้วของแม่บวกกับสิบนิ้วน้อยๆของลูกซะอีก
อย่าเทน้ำบนพื้น”
อย่าฉีกกระดาษเล่นซิลูก”
อย่าเอาดินสอเขียนผนัง ทำไมดื้ออย่างนี้ ถ้าทำอีก แม่จะไม่รักแล้ว !!!
ไม่ได้หมายความว่าการที่ลูกเล่นเลอะเทอะ ทำบ้านสกปรก หรือเล่นอันตราย แล้วเราสอนเค้าจะเป็นสิ่งผิด ตรงกันข้ามกลับสนับสนุนให้พ่อแม้ได้บอกได้สอน แต่ควรทำในวิธีที่เหมาะสมกับการรับรู้ของเด็กและจิตวิทยาในการเลี้ยงดูลูก หรือแม้กระทั่งการจัดสภาพแวดล้อม สถานที่ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการเล่นแบบเลอะๆ ได้ เช่น
แม่รู้ว่า หนูอยากเทน้ำบนพื้นใช่ไหมจ๊ะ แต่เทในบ้านมันจะหกเลอะเทอะ แม่จะเสียเวลาที่จะเล่นกับหนู เพราะต้องมาเช็ดทำความสะอาด เราออกไปเทน้ำข้างนอกบ้านแทนดีไหม”
สังเกตว่า จะมีการสะท้อน ว่าเราเข้าใจความต้องการการอยากเทน้ำเล่นของเขา แต่บอกผลเสียที่ตามมา พร้อมยื่นข้อเสนอใหม่ให้ และสุดท้ายให้เข้าเป็นคนตัดสินเลือกเอง หรือ 
โอ้โห้ ลูกเขียนรูปบนผนังบ้านสวยมากๆ เลย แม่ชื่นชมที่หนูวาดรูปได้เก่งมาก แต่ถ้าเราเอากระดาษไปติดที่ผนัง แล้วเขียน พอเขียนครบ เราก็เอากระดาษแผ่นใหม่มาติดแทน ก็จะวาดได้ตลอดไป แบบนี้ดีกว่าไหมลูก”
วิธีการพูดเชิงบวก และให้ได้ผลทางจิตวิทยานั้น มันต้องพูดยาวมากกกกกกแต่ถ้าเรายอมปรับครั้งเดียว ให้เขาเข้าใจ แล้วต่อไปเขาไม่ทำอีก มันจะประหยัดเวลา ลดอารมณ์หงุดหงิด เซฟพลังงาน ซึ่งจะได้ผลที่ดีกว่าในระยะยาวมากกว่าการบ่นด่าว่าเขาซ้ำ ๆ ซึ่งพฤติกรรมเข้าก็ไม่เปลี่ยนอยู่ดี
ทุกครั้งที่พูดคำว่า “ ไม่” “อย่า” “ห้าม” “หยุด”  ก็คือการเด็ดยอดอ่อนแห่งจินตนาการ แห่งพัฒนาการ แห่งความคิดสร้างสรรค์ แห่งพรสวรค์ของลูกทิ้งไป
ปิดท้ายด้วย hashtag ชวนคิด
# ขึ้นชื่อว่าเด็ก ไม่มีคนไหนไม่ซน #เด็กไม่ซนคงมีแต่ในนิยาย #ยืนยันในกติกา แต่ไม่ใช้อารมณ์
ที่มา : คู่มือ “เล่น” ให้ได้ “เรื่อง” พ่อแม่ 4.0  รู้ทันเรื่องเล่นเจนอัลฟ่า  
[แม่และเด็ก]
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH