การเล่นตามรอยพระยุคลบาท หมายถึง การเล่นกับธรรมชาติที่แวดล้อมตัวเด็ก เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อน พี่เลี้ยง สัตว์เลี้ยง และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ ทั้งดิน ทราย ก้อนกรวด กะลา ลม น้ำ ต้นไม้ ของเล่นจากของใช้ในบ้านสิ่งประดิษฐ์
จากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างนกกระดาษปลาตะเพียนสาน ม้าก้านกล้วย ว่าว กังหัน หรือของเล่นศิลปะ รูปปั้นดินเหนียว และแป้งปั้น เป็นต้น
การเล่นตามรอยพระยุคลบาท จะทำให้ เด็กมีอิสระ เกิดความสุข สนุกเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการและความคิด รู้จักแก้ปัญหา สร้างระเบียบวินัย รู้กฎเกณฑ์ คุณธรรมการตัดสินใจ เกิดการเรียนรู้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น หู ตา มือ จมูก ผิวสัมผัส ใจ และไปสะสมอยู่ในธนาคารความจำ ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านโครงสร้างและ การทำงานของสมอง ดังนี้
- สมองพัฒนาตามวัย ไม่เกินพลังการเรียนรู้ ของสมองเด็ก
- สมองทำงานเต็มที่เมื่อเด็กมีความสนใจ อยากรู้ อยากเรียน ขณะที่สมองทุกส่วนถูกกระตุ้น ให้ทำงานเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่และเต็มศักยภาพ
- เด็กเริ่มลงมือเล่นหรือกระทำด้วยตนเองเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากของจริงไปสู่ สัญลักษณ์ทางภาษา คณิต และวิทย์ เช่น เข้าใจ จำนวนของคน สัตว์ สิ่งของ อย่างชัดเจน ก่อนที่จะให้เรียนรู้สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ที่เป็นตัวเลข
- เด็กได้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสมพร้อมกับความสุข ความสนุก ความสนใจ ความใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนา รวมทั้งการสร้างและสั่งสมคุณธรรม
การเล่นตามรอยพระยุคลบาทนั้นลงทุน ไม่มากเพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองให้เวลา ความรักความเอาใจใส่มีความข้าใจในตัวเด็ก และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่สิ่งเหลานี้อาจนำไปสู่ อาชีพ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และอัจฉริย ภาพในอนาคต
[แม่และเด็ก]