ดูแลหัวใจคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

  • 25 พฤษภาคม 2562

ดูแลหัวใจคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นระบบที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนไปให้ทารกในครรภ์ อาจส่งผลให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของหัวใจได้

อาการที่สังเกตได้ ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ตับโต ปอดบวมน้ำ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ เสมหะมีสีชมพู ไอเป็นเลือด รู้สึกหัวใจเต้นแรงหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ

คุณแม่ที่มีความเสี่ยง

  1. ตั้งครรภ์ตอนอายุเยอะ/ตั้งครรภ์แฝด
  2. สูบบุหรี่
  3. น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  4. มีโรคประจำตัว (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)
  5. ตนเองหรือคนในครอบครัวมีประวัติความผิดปกติของหัวใจ

ผลกระทบของหัวใจผิดปกติ

  1. คลอดก่อนกำหนด
  2. ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ
  3. ภาวะตกเลือดหลังคลอด
  4. ภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  5. เพิ่มอัตราการแท้ง
  6. เพิ่มอัตราการตายของมารดาและทารกในครรภ์

เสริมเกราะป้องกัน..หัวใจ..

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารเค็ม พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. เลิกสูบบุหรี่
  4. หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  5. พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

เตรียมความพร้อม เพื่อการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย กรมอนามัยส่งเสริมให้ฝากครรภ์คุณภาพ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ (ศอช.)
13 กุมภาพันธ์ 2562
[แม่และเด็ก] #แม่และเด็ก

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH