หนุ่มสาวออฟฟิศและเด็กที่ใช้ชีวิตติดคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานไม่ว่าจะทำงาน หรือเล่มเกมหากมีปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดหลังปวดไหล่ ปวดต้นคอ รวมทั้งอาการผิดปกติของสายตานั่นเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเสี่ยงเป็นคอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome)
โรคที่มักมากับคอมพิวเตอร์
- ปวดมือ เพราะต้องใช้เมาส์ในการขยับมือกดคลิกหรือเลื่อนพิมพ์งานมากๆ ทำให้เกิดอาการเมื่อยหรือชานิ้วฝ่ามือทำให้กระดูกข้อมือนิ้ว เจ็บปวดและเสื่อมเกิดการอักเสบของพังผืดบริเวณข้อมือ
- ปวดหลัง เนื่องจากการนั่งในท่าเดิม เป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่บ่าสะบัก และกล้ามเนื้อ 2 ข้างของกระดูกสันหลังจะมีการหดเกร็งตัวเพื่อให้อยู่ในท่าเดิมตลอดเวลา
- โรคขาดสารอาหาร เกิดจากรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือไม่ถูกต้องตามหลักอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือไม่ถูกต้องตามหลัก
- โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์นาน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและมีอาการปวดท้อง
- โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิง
- โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome) มีอาการปวดตา แสบและเจ็บตาตาพร่า เมื่อยตา และระคายเคืองตาอาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราวแต่หากเป็นบ่อยๆจะเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าใครที่รู้ตัวเองว่าคอมพิวเตอร์ซินโดรม ให้ปรับอุปกรณ์การทำงานและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในแต่ละวัน ดังนี้
เก้าอี้ ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลสะโพก หัวเข่า ข้อเท้าควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลังโดยสมบูรณ์ และที่เท้าแขนสามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้คีย์บอร์ดหรือต่ำกว่าระดับสายตา สามารถปรับความสูงได้และควรใช้จอกรองแสงเพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสี
คีย์บอร์ดและเมาส์ ควรวางในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว จะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ
ถาดวางคีย์บอร์ดและเมาส์ ต้องมั่นคงแข็งแรง โดยข้อมืออยู่ในตำแหน่งกลาง สามารถวางที่พักข้อมือได้
ที่พักข้อมือ ต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคม หน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ
โคมไฟ ให้แสงสว่างพอเพียง เพื่อลดแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์
ทางที่ดีควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถ พักสายตาและยืดเส้นยืดสาย บริหารร่างกาย ก็จะช่วย ลดความเมื่อยล้าได้