การดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้แข็งแรง รอบด้านนั้นสำคัญ รวมถึงสุขภาพปากและฟันที่ ไม่ควรละเลย เพราะตัวการที่คอยทำลาย คือ หินปูน หินน้ำลาย หรือหินปูน เป็นคราบจุลินทรีย์ ที่มีแคลเซียมสะสมในน้ำลายระยะเวลาหนึ่งจน แข็งตัวคล้ายหินปูน ซึ่งจะสะสมเชื้อโรคหลายชนิด พร้อมเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เหงือกอักเสบ และเป็นโรคปริทันต์ นำมาซึ่งการสูญเสียฟันใน อนาคต แต่ป้องกันได้ด้วยการแปรงฟัน อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ที่สะสมแคลเซียมในน้ำลายจนกลายเป็นหินปูน แต่นั่นไม่เพียงพอ…เพราะหินปูนที่เกิดขึ้น แล้วกำจัดไม่ได้ด้วยการแปรงฟัน แต่จะต้อง ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการขูดหินปูนด้วย เครื่องมือขจัดหินปูนที่สั่นสะเทือน ทำให้หินปูน หลุดออกมา และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand Instruments) ขูดหินปูนอีกครั้ง
การขูดหินปูนนี้อาจทำให้หลายคนมีเหงือก อักเสบ คือ เหงือกบวมแดง เลือดออกง่ายขณะ แปรงฟันมากน้อยต่างกันไป แต่ไม่ถึงกับมีผลต่อ ผู้ป่วย เว้นแต่บางคนที่มีโรคประจำตัว ควรระวัง 8 กลุ่มโรค ได้แก่
- เกล็ดเลือดต่ำหรือมะเร็งเม็ดเลือกขาวที่มี เลือดออกง่าย หยุดยาก มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือด ตามร่างกาย
- โรคไตและคนที่มีประวัติเคยล้างไต ที่ได้ รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว
- คนที่มีประวัติผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และ ใช้ยาละลายลิ่มเลือด
- โรคหัวใจ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยใจสั่น
- หอบหืด ที่มีหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่น ประจำและได้รับยาสเตียรอยด์
- ลมชัก ดูประวัติการกินยาและอาการที่ เป็นครั้งสุดท้าย
- ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดอาการ ความดันโลหิตสูงขึ้นขณะทำฟัน
- เบาหวาน มีผลทำให้แผลหายยาก ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง จึงควรแจ้งทันตแพทย์ ทุกครั้งก่อนรับการบริการ เพื่อ เตรียมความพร้อมไว้ เผื่ออาการกำเริบระหว่างทำฟันประจำทุกปีและควรตรวจสุขภาพช่องปาก
หากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนอย่างน้อย ปีละครั้ง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและลดการสูญเสียฟันในอนาคตด้วย