วัยทำงาน

เครื่องถ่ายเอกสาร…

  • 27 กันยายน 2562

อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในสำนักงานมีมากมาย  เครื่องถ่ายเอกสารคือหนึ่งในนั้น  และถ้าจะมองถึงความเสี่ยงที่จะได้รับ  เครื่องถ่ายเอกสารก็เป็นหนึ่งในนั้นอีกเช่นกัน  เพราะผู้ที่ใช้เป็นประจำ

ร่างกายจะได้รับสารเคมีต่างๆ โดยไม่รู้ตัว

โอโซน (Ozone) หากได้รับโอโซนความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป จะทำให้ระคายเคืองตา จมูก คอ หายใจสั้น วิงเวียนและปวดศีรษะ มีอาการล้า และสูญเสียการรับรู้กลิ่น โดยเฉพาะ ผู้ที่มีโรคระบบหายใจ เช่น โรคหอบหืด ไม่ควร สัมผัสโอโซน

รังสีUV จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูง ในห้องถ่ายเอกสารจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ เกิดผื่นคันตามผิวหนัง

ผงหมึกในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งและระบบเปียก ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายหากสูดดมผงหมึก ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จามไว้ที่ลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสาร  ระเหยออกมาได้

สารเคมีอื่นๆ เช่น  เซเลเนียม  แคดเมียมซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และโพลิเมอร์บางตัวซึ่งเคลือบในระหว่างถ่ายเอกสาร  หากสูดดมสารเซเลเนียมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ  เยื่อเมือกกระเพาะอาหาร  แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการลิ้นเฝื่อน  มีอาการล้าอาหารไม่ย่อย  วิงเวียนศีรษะ  และเมื่อได้รับในระดับความเข้มข้นสูง จะเป็นอันตรายต่อตับและไตส่วนแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง จะถูกปล่อย ออกจากเครื่องถ่ายเอกสารน้อยกว่าเซเลเนียม 

แต่เป็นอันตรายมากกว่าถ่ายเอกสารทุกครั้งจึงควรปิดฝาครอบให้สนิทต้องติดตั้งพัดลมดูดอากาศเฉพาะที่สวมถุงมือขณะเติมหรือเคลื่อนย้ายผงหมึกและควรใส่หน้ากากกันฝุ่นเคมี

 สำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเอกสาร ควรได้รับการแนะนำอบรมวิธีการใช้การเปลี่ยนผงหมึกตลอดจนผู้ซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสารควรสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งและหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับลูกกลิ้งด้วย

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH