อนามัยสิ่งแวดล้อม

กำจัดโทรศัพท์มือถือ (ไม่) สิ้นซาก

  • 17 กันยายน 2562

เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้โลก ปัจจุบันเป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน อุปกรณ์การสื่อสารจึงใช้อำนวยความสะดวกสบาย

ในชีวิตประจำวัน แต่การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีส่งผลให้อุปกรณ์เดิมๆ  ที่เคยใช้ กลายเป็นของตกรุ่น เช่น โทรศัพท์มือถือเมื่อผ่าน

การใช้งานเฉลี่ย  18  เดือนไปแล้วก็จะเป็นขยะ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ก่อให้เกิดโทษมหันต์กับเราได้ การทิ้งโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์จาก ประกอบไปด้วย

ตัวเครื่องที่เป็นแผงวงจรโลหะ จอ LCD (Liquid Crystal Display) ลำโพงและ ไมโครโฟนที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก หน้ากาก และส่วนห่อหุ้มของโทรศัพท์ที่ทำจากพาสติก 

โพลีโทรศัพท์มือถือปะปนไว้กับขยะทั่วไป อาจทำให้คาร์บอเนตหรือเอบีเอส ทั้งยังมีเครื่องแปลงแรงดัน ไฟฟ้าเพื่อใช้อัดไฟแบตเตอรี่ และแหล่งพลังงาน หรือตัวแบตเตอรี่

ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้มีสารอันตรายหลายสารอันตรายรั่วไหลไปสู่ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหารทางดิน น้ำ และอากาศ เพราะในโทรศัพท์มือถือชนิด เช่น 

  • ตะกั่ว ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง  ระบบโลหิต การทำงานของไตและการสืบพันธุ์  มีผลต่อการพัฒนาสมองเด็กเเละยังสะสมอยู่ในบรรยากาศได้อีกด้วย
  • แคดเมียมสะสมในไต ทำลายระบบประสาท ส่งผลเสียต่อ พัฒนาการเด็ก และภาวะตั้งครรภ์ และอาจมีผล ต่อพันธุกรรม
  • สารหนู ทำลายระบบประสาท ผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร และหากได้รับในปริมาณมากอาจ ถึงแก่ชีวิตได้
  • นิกเกิล สารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง อาจมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังส่งผลเรื้อรังจาก การสัมผัส ได้แก่ การแพ้ของผิวหนัง มีแผลไหม้ คัน เป็นผื่นแดงอาการคล้ายเป็นหืดหอบและแน่น หน้าอก
  • ลิเทียม เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน สูดดม หรือดูดซึมผ่านผิวหนัง ทำลายเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ ดวงตาและผิวหนังรุนแรง การสูดดมอาจทำให้เกิด อาการชักกล่องเสียงและหลอดลมใหญ่อักเสบปอดอักเสบและน้ำท่วมปอด
  • โคบอลต์ สารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองที่เมื่อหายใจเข้าไปจะทำให้ไอ หายใจติดขัดและถี่ หาก สัมผัสสารนี้นานทำให้ผิวหนังอักเสบ เกิดผื่นแดง ส่งผลต่อระบบเลือดหัวใจ ต่อมไทรอยด์ และอาจ ทำให้ปอดผิดปกติ

สารพิษเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รั่วไหล จากซากโทรศัพท์มือถือเก่าตกรุ่น และหมด ประสิทธิภาพการใช้งาน ซึ่งป้องกันได้โดยผู้ใช้ ต้อง เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานใช้งาน

อย่างคุ้มค่า และดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานผู้ผลิตควรพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มี สารอันตรายน้อย ใช้สอยได้ยาวนาน แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตั้งจุดรับซาก โทรศัพท์ มือถือและแบตเตอรี่เก่า

เพื่อนำไป รีไซเคิลหรือ นำไปกำจัดยังโรงงานกำจัดวัสดุพิษ ควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้า และประชาชนนำซากโทรศัพท์มือถือมาทิ้งในจุดดังกล่าว สร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์และ ลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH