อนามัยสิ่งแวดล้อม

“โฟม”กล่องซ่อนมะเร็ง

  • 19 กันยายน 2562

คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับภาชนะบรรจุอาหารประเภทโฟมที่นอกจากสะดวกพกพาง่ายแล้ว  ยังไม่ต้องล้างทำความสะอาดเรียกว่ากินแล้วทิ้งได้เลย

แต่ภาชนะโฟมที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายนี้กลับก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากย่อยสลายได้ยาก  ที่สำคัญยังซ่อนไปด้วยอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพกระบวนการผลิตก่อนจะมาเป็นภาชนะโฟมที่เราใช้กันนั้น  ต้องผ่านขั้นตอนการผลิตด้วยพลาสติกประเภทโพลีสไตรีน  จากนั้นนำมาเติมสารเร่งเพื่อช่วยให้เกิดการพองตัว  และเกิดการแทรกตัวของก๊าซในเนื้อพลาสติก  ทำให้ได้พลาสติกที่มีน้ำหนักเบา  สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุอาหารในรูปแบบต่างๆ  ได้ตามต้องการ  แต่เมื่อภาชนะโฟม  สัมผัสอาหารร้อนจัดเป็นเวลานานอาจทำให้เสียรูปทรงและหลอมละลายจน“สารสไตรีน”ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้โดยปริมาณการละลายออกมาของสไตรีน  จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างดังนี้

ไขมันในอาหาร : อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ

ระยะเวลา : อาหารที่บรรจุอยู่ในกล่องโฟมนานๆทำให้ได้รับสารสไตรีนในปริมาณมาก

อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลงจะทำให้สารสไตรีนเข้าสู่อาหารในปริมาณมากเมื่อสารสไตรีนเข้าสู่ร่างกาย  จะมีผลทำลายฮอร์โมนในร่างกาย  มีผลต่อระบบประสาทเม็ดเลือดแดง  ตับและไต  เมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้ระคายเคือง  การสูดเข้าไปจะมีอาการไอ  และหายใจลำบาก  เพราะไปทำให้เยื่อเมือกเกิดความระคายเคือง  ปวดศีรษะ  ง่วงซึมที่สำคัญคือก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับด้วย

สารพัดอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมอาจช่วยให้ทั้งพ่อค้า  แม่ค้า  และผู้บริโภคได้ย้อนคิดก่อนใช้  โฟมบรรจุอาหาร  เพราะผลกระทบต่อสุขภาพที่ตามมาคงจะอันตรายมากกว่าจะได้รับประโยชน์ทางที่ดีจึงควรเปลี่ยนมาใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากชานอ้อย  มันสำปะหลังหรือข้าวโพดที่ย่อยสลายง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนจะดีกว่า

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH