อนามัยสิ่งแวดล้อม

เผาพลาสติก-โฟม…สร้างมลพิษ

  • 26 กันยายน 2562

การเผาขยะในบริเวณบ้านเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ค่อนข้างพบมากในพื้นที่ชนบท  ขยะที่นำมาเผาส่วนใหญ่เป็นกระดาษ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ และพลาสติกเมื่อเผาแล้วจะปล่อยสารหลายชนิดออกมาโดยไม่มี

กระบวนการบำบัด  ทำให้มลพิษแพร่กระจายเข้าไปในบ้านและในบรรยากาศ  นำไปสู่การปนเปื้อนแหล่งน้ำและดิน

การเผาขยะประเภทโฟม  จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซสไตรีน  (Styrene)  ที่สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและปอดได้  หากได้รับสารสไตรีนในระดับที่สูงจะทำอันตรายต่อตา  และถ้าได้รับสไตรีนในระยะยาวจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  ทำให้ปวดหัว  อ่อนเพลีย  อ่อนแอและเกิดภาวะซึมเศร้า  ส่วนการเผาไหม้พลาสติกประเภทพีวีซีทำให้เกิดการปล่อยก๊าซไดออกซินซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบต่างๆ  ในร่างกายของคนเป็นสารก่อมะเร็ง  และรบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมน  สามารถสะสมในร่างกายและถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้โดยผ่านทางรก  นอกจากนี้มวลสารที่เกิดจากการเผายังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ  โรคระบบทางเดินหายใจเช่น  โรคหอบหืด  และเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นอาการคลื่นไส้ ปวดหัว ทำลายระบบประสาท ตับ ไตระบบสืบพันธุ์ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงต่อมลพิษนี้ได้ดังนี้

ไม่เผาพลาสติกและขยะภายในบ้านหรือในบริเวณบ้าน  เพราะจะทำให้เกิดสารพิษที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพแก่คนในครอบครัว และผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง  และยังเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่นด้วยคัดแยกขยะ โดยเฉพาะขยะประเภทพลาสติกและขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ออกจากขยะที่ต้องนำไปกำจัด  โดยอาจนำไปขายให้กับผู้ที่รับซื้อหรือนำไปใช้ใหม่

ลดการใช้ถุงพลาสติกไม่ใช้ภาชนะบรรจุอาหารประเภทกล่องโฟม  หรือเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีพีวีซีเป็นองค์ประกอบ  ซึ่งปล่อยสารพิษได้หากนำมาเผา ซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นแก้ว ขวดแก้วเป็นต้น

ขยะอินทรีย์  เช่น  เศษอาหารเศษกิ่งไม้ใบไม้สามารถนำมาหมักทำปุ๋ย  เพื่อลดการกำจัดด้วยการเผาในบริเวณบ้าน

การกำจัดขยะด้วยการเผาอาจเป็นวิธีที่ง่ายแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแลสุขภาพอย่างมากหากสามารถลดการเผาได้ก็จะช่วยลดการเกิดมลพิษในบ้านและชุมชน

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH