อนามัยสิ่งแวดล้อม

รู้จัก…โรคที่ (เรา) สร้างเอง

  • 16 กันยายน 2562

การใช้วิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้มีเวลาดูแลเอาใจใส่ตนเองน้อย ทั้งยัง เครียดกับงาน และกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

โรคที่ว่าก็คือ “โรคที่เราสร้างเอง” หรือที่ เราคุ้นในชื่อ NCDs ย่อมาจาก Non Commu-nicable Disease หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่ไม่สามารถแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนได้ โดย ทั่วไปอาจเรียกว่า กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงโรค ที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน และมีการดำเนินของโรค เป็นไปอย่างช้าๆ เป็นแล้วไม่หาย แต่ป้องกันได้ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือด สมองและหัวใจถุงลมโป่งพอง มะเร็ง และ อ้วนลงพุง เป็นต้น

กลุ่มโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ทั้งด้านโภชนาการ และ การออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงเกิดโรคต่างๆ ดังนี้

  • โรคเบาหวาน เกิดจากการกินอาหาร หวานจัด หรือกินน้ำตาลมากเกินไป
  • โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการกิน อาหารที่มีไขมันสูง และความเครียดสะสม
  • โรคไต เกิดจากการกินอาหารสเค็มจัด หรือการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นระยะ เวลานาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากการ รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป และการ ดื่มสุราด้วย
  • อุดตัน ของไขมันในเลือด
  • โรคถุงลมโป่งพองและมะเร็งปอด เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน

แต่เราสามารถป้องกันโรคที่เราสร้างเองได้ เพียงใช้ชีวิตตามหลัก 3 อ. 2 ส. คือ

  • อ.อาหาร รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลมอ.ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายและ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที และมีการเคลื่อนไหว ในระหว่างวัน เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์
  • อ . อารมณ ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิ และผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะเพื่อน
  • ส.ไม่สูบบุหรี่ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ที่เป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง
  • ส . ไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH