แม่และเด็ก

หญิงท้องสูบบุหรี่”เสี่ยงเเท้ง” เด็กในท้องปากเเหว่ง”เพดานโหว่”

  • 10 กันยายน 2562

โทษภัยจากบุหรี่จะส่งผลต่อสุขภาพผู้เสพ และยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ หากหญิง ตั้งครรภ์ เป็นสิงห์อมควันที่เลิกบุหรี่ไม่ได้

single cigarette stick with ashes stick

ทั่วโลกมีผู้สูบบุหรี่ 1,250 ล้านคน ใน ประเทศไทย  พ.ศ.  2554 มีผู้สูบบุหรี่ประจำ 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาย 9.5 ล้านคน และหญิง 4 แสนคน มีข้อมูลที่น่าตกใจว่าวัยรุ่น หญิงเริ่มสูบบุหรี่  ที่อายุต่ำกว่า  12 ปี  ถึง ร้อยละ 10.2

ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ประจำหากตั้งครรภ์ และเลิกบุหรี่ไม่ได้ จะมีโอกาสเกิดฟันผุ และ เหงือกอักเสบง่ายกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพราะการสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้โรคในช่องปาก รุนแรงมากขึ้น  ควันบุหรี่ระคายเคืองต่อ อวัยวะในช่อง ปาก สารพิษในควันบุหรี่ ประเภททาร์และนิโคติน จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์ มะเร็งในช่องปาก การอักเสบและหนาตัวของ เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และท่อเปิดต่อมน้ำลาย รวมทั้งทำให้ปาก สกปรก ฟันเหลือง และมีกลิ่นปาก

การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ทำให้ได้รับ สารนิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์จาก ควันบุหรี่ ทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ ทารกได้รับ สารอาหารน้อยกว่าปกติ เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการแท้งลูก ทารกแรกคลอด ตัวเล็ก น้ำหนักน้อยและเลือดที่ผ่านรกน้อย ลง ทำให้ออกซิเจนที่จะเข้าสู่สมองลดลง ด้วย และหากสารนิโคตินแทรกซึมผ่านเข้าสู่รกจะ ส่งผลต่อสมอง สติปัญญา และพฤติกรรม ทารก ในครรภ์ด้วย

ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ  การสูบบุหรี่ของ หญิง  ตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกในครรภ์ มีโอกาสเกิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ มากกว่า ทารกที่มารดาไม่  สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถึง  2 เท่า  และหากแม่ยังคงสูบบุหรี่  ควันบุหรี่ยัง ส่งผลกระทบโดยตรง  ทำให้ทารก  ป่วยเป็น โรคระบบทางเดินหายใจตอนล่าง  หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ หญิงตั้งครรภ์ที่ยังสูบบุหรี่ควรคำนึงถึง

เรื่องนี้เป็นสำคัญ ด้วยการเลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติ หรือไม่แข็งแรง และหากเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ภายใน 3-4 เดือนของการตั้งครรภ์ อัตรา เสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อทารกจะลดลงมาก

วิธีการเลิกบุหรี่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ และ ผู้หญิงทุกคนที่ดีที่สุด คือ ต้องพยายาม เลิกด้วยตนเอง ก่อนการใช้ยา เพราะถึงแม้ว่า ปัจจุบันจะมียาหลายชนิดให้ผู้ที่ต้องการเลิก บุหรี่ ทั้งยาที่มีนิโคตินทดแทนบุหรี่ ยาที่ไม่มี นิโคติน  และยาสมุนไพร  หญ้าดอกขาวที่จะ ช่วยให้การเลิกบุหรี่สำเร็จมากขึ้น

แต่การตัดสินใจใช้ยาทุกชนิดควร ปรึกษาแพทย์หรืออยู่ภายใต้คำแนะนำของ แพทย์หรือเภสัชกร จะดีที่สุด

การสูบบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์จะส่ง ผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ มากกว่าทารกที่มารดาไม่สูบบุหรี่

ขณะตั้งครรภ์ 2 เท่า และหากแม่ยังคงสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ยังส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ทารกป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจตอนล่าง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ

[แม่และเด็ก]
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH