“ขยะ” หรือ “สิ่งปฏิกูล” เป็นสิ่งที่ทุกบ้านต้องทิ้งกันแทบทุกวัน ในประเทศไทยมีปริมาณขยะ 4 หมื่นตันต่อวัน หรือ 14.6 ล้านตันต่อปี และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดการขยะให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้ หากไม่คัดแยกหรือจัดการให้ดี อนาคตขยะอาจล้นเมือง แถมยังเป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมส่งผลเสียต่อคุณภาพดิน น้ำ และอากาศเพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงนำโรคก่อนที่จะจัดการขยะทั่วไปให้ถูกวิธี ควรรู้จักขยะทั้ง 4 ประเภทก่อน
- ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร และพืชผักที่เหลือจากมื้ออาหาร นำไปหมักเป็นปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพได้
- ขยะทั่วไป เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าต่อการนำไปรีไซเคิล
- ขยะพิษ เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟถ่านไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด เป็นขยะที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยแยกขยะพิษใส่ถุงพลาสติกและนำไปทิ้งในถังหรือภาชนะที่เก็บแยก
ซึ่งมีสีและลักษณะแตกต่างจากถังขยะทั่วไปส่วนใหญ่จะวางไว้ตามจุดต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ถ้าหาถังหรือภาชนะดังกล่าวเพื่อทิ้งขยะไม่ได้ ก่อนนำไปทิ้งต้องเขียนหน้าถุงว่า ขยะอันตราย
มีขยะอีกประเภทหนึ่ง คือ “ขยะติดเชื้อ” ขยะอันตรายที่เกิดจากการรักษาหรือเกิดใน โรงพยาบาล เช่น ผ้าพันแผล สำลี เข็มฉีดยาที่ เปื้อนเลือดเปื้อนหนอง หรือชิ้นส่วนอวัยวะที่มา จากการผ่าตัด จะสกปรกและปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวนมาก การจัดการขยะติดเชื้อควรให้ความสำคัญ และดำเนินการอย่างเคร่งครัดภายใต้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวง ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 โดยใช้ภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะติดตราสัญลักษณ์ เป็นรูปวงเดือนสีดำ 3 วง ซ้อนทับกัน ปิดภาชนะ มิดชิดไม่รั่ว ไม่ซึม และเขียนกำกับ “ขยะติดเชื้อ อันตราย” เก็บแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะ ประเภทอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
การเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อต้องกระทำด้วย ความระมัดระวัง ตรวจดูไม่ให้มีรอยรั่วซึม ต้อง สวมถุงมือ ผ้าคลุมผม ผ้ากันเปื้อน และรองเท้า บู๊ตป้องกันทุกครั้งเมื่อหยิบจับขยะติดเชื้อ และใช้ รถเข็นเฉพาะเพื่อเคลื่อนย้าย การกำจัดขยะติดเชื้อ ต้องเผาด้วยเตาเผาพิเศษหรือทำให้ปราศจากเชื้อ โดยการอบนึ่งไอน้ำร้อน สถานพยาบาลเจ้าของ ขยะติดเชื้ออาจดำเนินการกำจัดเองหรือว่าจ้าง บริษัทเอกชนที่รับจ้างเก็บขนไปกำจัดภายนอกโรงพยาบาล
“ขยะ” จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป แค่ “คิด” ก่อน “ทิ้ง” ทุกครั้ง ก็เท่ากับว่าได้ช่วย ให้ขยะไม่ล้นเมือง