แม่และเด็ก

เปลี่ยนชีวิตเด็กอ้วน… ด้วยโภชนาการ ออกกำลังกาย

  • 12 กันยายน 2562

ความเชื่อที่ว่า “เด็กอ้วน” คือเด็กน่ารัก จ้ำม่ำ น่ากอด น่าอุ้ม ถ้าเป็นเ แต่ปัจจุบัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรทบทวนและปรับเปลี่ยนความคิดกันใหม่ เ เด็กอ้วนในยุคนี้คือเด็กที่ต้องเผชิญกับภาวะโภชนาการเกินที่ไม่ได้ส่งผล แต่กลับทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนเมื่อโตขึ้น

ปัญหาสุขภาพของเด็กไทยที่มีจำนวนไม่น้อยกำลังจะกลายเป็น  “โรคอ้วน”  ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งป้องกันและร่วมกันเฝ้าระวัง ก่อนที่เด็กอ้วนจะล้นประเทศ“ทุกวันนี้ประเทศไทยมีเด็กวัยเรียนที่เข้าข่ายอ้วน  600,000  คน  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย  เพราะผลการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมไทย  และกระแสการกินแบบตะวันตกทำให้อาหารจานด่วน  อาหารสำเร็จรูป  และอาหารกึ่งสำเร็จรูป  ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่อาหารมื้อหลัก  ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่า  อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง  น้ำตาล  และไขมันสูง  และยิ่งกินในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย  โดยไม่มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดการสะสมของพลังงานที่ไม่จำเป็น  ยิ่งมาก  ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคอ้วนตามไปด้วย

กินไม่เป็น ไม่เน้นออกกำลังกาย

หากมองถึงพฤติกรรมการกินของเด็กไทยขณะนี้ เรียกได้ว่าน่าเป็นห่วง เพราะจากการสำรวจพบเด็กปฐมวัยกินผักทุกวันเพียงร้อยละ  36.4กินผลไม้ทุกวันร้อยละ  37.2 ส่วนเด็กวัยเรียนก็ไม่ต่างกัน  พบกินผักทุกวันร้อยละ41.4 หรือต่อคนเฉลี่ยวันละ  1.5  ช้อนกินข้าวซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่กรมอนามัยแนะนำในธงโภชนาการที่ควรกินผักให้ได้วันละ 12 ช้อนกินข้าว

นอกจากนี้  สถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพนอกจากนี้  สถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพในนักเรียน  ยังพบว่ามีเด็กเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ออกกำลังกายเพียงสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนใหญ่มักใช้เวลาไปกับการดูทีวี  เล่นเกม  และนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์  เกินกว่าวันละ  2  ชั่วโมงถึงร้อยละ24.3  ในเด็กประถมศึกษา  และร้อยละ  51.8ในเด็กมัธยมศึกษา  สิ่งต่างๆ  เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงของภาวะอ้วน

[แม่และเด็ก]
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH