“น้ำส้มสายชู” ตัวชูรสที่สร้างความเปรี้ยวให้ อาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารประเภท ก๋วยเตี๋ยวและราดหน้า
น้ำส้มสายชูที่ขายในตลาดนั้นมีหลาย ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติ และ กระบวนการผลิตแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
น้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมัก ธัญพืช ผลไม้หรือน้ำตาล น้ำส้ม สายชูชนิดนี้มีรสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอม และมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเเต่ราคาค่อนข้างสูง
น้ำส้มสายชูกลั่น น้ำส้มสายชูที่ได้จากการ หมักแอลกอฮอล์กลั่นเจือจางกับ เชื้อน้ำส้มสายชู จากนั้นนำไป กลั่นอีกครั้ง หรือนำน้ำส้มสายชู หมักมากลั่นนั่นเอง
น้ำส้มสายชูเทียม น้ำส้มสายชูที่นำกรดน้ำส้ม (Acetic Acid) กรดอินทรีย์มี ฤทธิ์กรดอ่อน ความเข้มข้น 95% มาเจือจางจนได้ปริมาณกรด 4-7% ผู้บริโภคควรใส่ใจเลือกซื้อ
เนื่องจากการนำน้ำส้มสายชูปลอมมาจำหน่ายในตลาด ซึ่งมีราคาถูก ผลิตจาก “หัวน้ำส้ม” (Glacial Acetic Acid) ที่เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง สิ่งพิมพ์ สิ่งทอ
และ อาจปนเปื้อนโลหะหนัก หรือวัตถุเจือปนอื่นๆ ระหว่างกรรมวิธีการผลิต เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้ พิษสะสมได้ การผสมกรดน้ำส้ม ที่ไม่ได้มาตรฐาน ในปริมาณที่สูงเกินไป
ทำให้ผู้บริโภคท้องร่วงอย่าง รุนแรงได้
ยังพบการนำกรดแร่อิสระบางชนิด เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟิวริก (Sulfuric Acid) ซึ่งเป็นกรดแก่มาเจือจางด้วยน้ำ มากๆ แล้วบรรจุขวดขาย อันตรายมาก กรดกำมะถันเป็นกรด
ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน รุนแรง อันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และตับ
การเลือกซื้อน้ำส้มสายชู ให้ เลือกที่มีลักษณะใส ไม่มีตะกอน ไม่มีเจือสี และมีปริมาณกรดน้ำส้ม 4-7 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร หรือ เลือกที่มีข้อความข้างขวดระบุว่า
“มีปริมาณกรดน้ำส้ม 4-7%” รวมทั้งมีเครื่องหมาย อย. รับรอง
แต่หากไปกินอาหารนอกบ้าน ควรสังเกตน้ำส้มสายชูก่อนปรุง คือภาชนะที่ใส่น้ำส้มสายชูไม่ควร เป็นพลาสติก น้ำส้มสายชูอาจทำ ปฏิกิริยากับพลาสติกเกิดสารพิษที่
ก่อเกิดโรคมะเร็งได้และหากมี พริกดอง ให้สังเกตส่วนน้ำส้มที่อยู่เหนือพริกจะขุ่น เนื้อพริกมีสีซีดขาวและเปื่อยยุ่ย ไม่ควรกิน
เพื่อความปลอดภัย จึงต้อง ใส่ใจเลือกซื้อ …ชีวิตจะได้ไม่เสี่ยง