การสักผิวหนังอยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานานแล้ว เดิมการสักร่างกายเกิดจากความเชื่อความศรัทธา แต่ปัจจุบันรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการสักได้เปลี่ยนไป โดยจะเน้นความสวยงามมีการคิดค้นลวดลายต่างๆ ที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้นทำให้มีร้านรับจ้างสักเกิดขึ้นมากมายทำให้มีร้านรับจ้างสักเกิดขึ้นมากมายคือ การใช้เหล็กแหลมจุ่มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลายแต่ทุกวันนี้ได้มีการใช้เครื่องสักลายเพื่อความสะดวกรวดเร็ว เป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการแต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษคือความสะอาดของเครื่องมือที่ใช้ในการสักเพราะถ้าไม่สะอาด อาจทำให้เสี่ยงและมีโอกาสติดเชื้อได้ดังนั้น ผู้รับบริการควรคำนึงถึงสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ เครื่องมือ เครื่องใช้ว่ามีการดูแลรักษาสะอาดเพียงพอหรือไม่ และตรวจสอบสถานประกอบกิจการนั้นด้วยว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งการบริการสักผิวหนังเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งการบริการสักผิวหนังเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 9 (15) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 5/2538 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หรือไม่ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นควรออกข้อกำหนดให้กิจการดังกล่าวเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในท้องถิ่นของตนเอง ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. 2535 เพื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีอำนาจเข้าไปควบคุมดูแลสถานประกอบกิจการและให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านสุขลักษณะในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดให้กิจการรับจ้างสักผิวหนังเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในท้องถิ่นของตนเองแล้ว หากผู้ประกอบกิจการประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาตถือว่าผู้ประกอบกิจการฝ่าฝืนข้อบัญญัติของท้องถิ่นซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
เมื่อคิดจะสักต้องรู้จักป้องกันและมั่นใจในความสะอาดปลอดภัย ของร้านที่เลือกใช้บริการด้วย