ทันตสาธารณสุข

สระว่ายน้ำกับโรคฟันกร่อน

  • 17 กันยายน 2562

สระว่ายน้ำกับเด็กๆ เป็นของคู่กันเสมอ ในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน สระว่ายน้ำมักเต็มไปด้วย เด็กๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสนับสนุนการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ แต่ความสนุกสนานจากการว่ายน้ำในสระ ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะข้อเสียของสระว่ายน้ำก็ มีเช่นกัน ซึ่งน้อยคนนักจะรู้ว่า…น้ำในสระส่งผล กระทบต่อสุขภาพเด็กๆ ได้เช่นกัน

ปัญหาที่พบในเด็กที่ว่ายน้ำบ่อยๆ คือ จะ เสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันกร่อนที่มีสาเหตุจากการ ว่ายน้ำในสระที่มีปริมาณคลอรีนในน้ำมากเกินไป และไม่ควบคุมคุณภาพน้ำให้มีค่าเป็นกรด ด่าง พอเหมาะ ทำให้ผิวฟันหลุดหายถาวร โดยเฉพาะ ฟันด้านบน ทำให้เกิดอาการเสียวฟันเมื่อโดนน้ำ หรือลม และในรายที่เป็นมาก จะเคี้ยวอาหารไม่ได้ แต่อย่าเพิ่งกังวลหรือตกใจ เพราะการรักษา ก็สามารถทำได้ด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ฟัน ลดอาการเสียวฟัน แต่หากฟันเริ่มเปลี่ยนสีหรือ ผิวฟันขรุขระ ก็ต้องรักษาด้วยวิธีการอุดฟันหรือครอบฟันเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องรู้จักป้องกันตนเอง จะดีกว่า การป้องกันโรคฟันกร่อนจากสระว่ายน้ำโดย ผู้ประกอบการหรือผู้ดูแลสระว่ายน้ำ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจการใช้สารเคมีต่างๆ ปรับปรุงคุณภาพ น้ำในสระ ด้วยการควบคุมและคอยหมั่นดูแล ไม่ให้น้ำในสระมีค่าความเป็นกรดเกินมาตรฐานที่ กำหนด คือ ให้มีค่าความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 6.5-7.5 เพื่อความปลอดภัย

หากเป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่ต้องฝึกซ้อมทุกวัน อาจจะใส่เฝือกฟัน (Mouth Guard) ช่วยป้องกัน ได้อีกทางหนึ่ง ก่อนจะใช้สระว่ายน้ำ ควรตรวจสอบข้อมูล สระว่ายน้ำ เพื่อมั่นใจความสะอาด ปลอดภัย และ ไม่เสี่ยงต่อการเกิดฟันกร่อนตาม เพราะความสนุก มักแฝงมาด้วยอันตรายเสมอ

แต่หากใส่ใจกันสักนิดก็จะได้ว่ายน้ำ อย่างสนุกและปลอดภัย

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

ดาวน์โหลด eBook สุขภาพ

แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพพร้อมให้คุณดาวน์โหลดไปศึกษาฟรี!