ทันตสาธารณสุข

สมเด็จย่าทรงพระเมตตา ให้ปวงประชามีฟันดี “ลดฟันผุเด็กไทย…ด้วยคนในครอบครัว”

  • 13 กันยายน 2562

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระทัยในเรื่องบริการทันตกรรมเป็นพิเศษได้ทรงกำชับไว้ว่า“ต้องมีทันตแพทย์ไปช่วยชาวบ้านทุกครั้งเนื่องจากคนไข้ในท้องถิ่นทุรกันดาร  เมื่อมีโรคฟันจะต้องทนทุกข์ทรมาน  และไม่สามารถช่วยตนเองได้ ดังนั้น ต้องให้มีทันตแพทย์ไปช่วยโดยด่วน” จากพระปณิธานข้างต้นที่ทรงห่วงใยสุขภาพช่องปากของคนไทย  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีทันตแพทย์ไปปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์ใน“หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”  เพื่อบำบัดความทุกข์ทรมานด้วยโรคในช่องปากของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา

‘ตุลาคม’ เดือนแห่งการรณรงค์ดูแลสุขภาพช่องปากคนไทย มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  (พอ.สว.)  ได้ริเริ่มรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข  ครั้งแรกเมื่อวันที่  21  ตุลาคม  2529 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ จนกระทั่งในปี 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่21  ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ”ทุกๆ  ปีที่ผ่านมากรมอนามัยได้ร่วมกับมูลนิธิพอ.สว.  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคเอกชน  จัดกิจกรรมรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข  เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า  “พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้กรมอนามัยให้ความสำคัญกับการ  ส่งเสริมให้แม่แปรงฟันให้ลูกตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ปลอดขนมกรุบกรอบชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตลอดจนการส่งเสริมให้คนไทยบ้วนปากทุกครั้ง

‘ฟันผุ’ นอกจากจะทำให้ปวดฟันแล้วปัญหาที่ตามมาคือกลิ่นปาก เนื่องจากรูของฟันจะเป็นที่กักเก็บเศษอาหารและเป็นแหล่งที่แบคทีเรียรวมตัวกันอยู่ได้มากที่สุดซึ่งในช่องปากของคนเรามีเชื้อโรคอยู่มากกว่า 600ชนิด งานวิจัยยืนยันว่า ผู้มีรูฟันผุจะมีจำนวนเชื้อโรคในช่องปากมากกว่าคนที่ฟันไม่ผุ  ฟันผุยังมีผลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว  โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ  ที่มีฟันผุหลายซี่ในปากจะบดเคี้ยวอาหารได้น้อยกว่าเด็กทั่วไปทำให้เด็กชอบที่จะกินอาหารนิ่มๆ ประเภทแป้งและน้ำตาล ส่งผลให้ขาดใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสมส่วนตามวัยส่วนผู้ใหญ่ที่สูญเสียฟันจะเกิดภาวะเดียวกันคือขาดสารอาหารที่จำเป็น  เพราะไม่สามารถบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สองมือ…สร้างฟันดีให้ลูก กรมอนามัยได้สำรวจ พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุร้อยละ 52 สาเหตุคือเริ่มแปรงฟันช้าและไม่แปรงทุกวันทั้งๆ ที่ต้องทำให้เป็นนิสัย เพราะถึงแม้ว่าเด็กเล็กๆ ที่อายุน้อยกว่า 6 ปี การพัฒนากล้ามเนื้อยังไม่สมบูรณ์  แต่พ่อแม่ผู้ปกครองก็ควรแปรงฟันให้เด็กจนถึงฟันแท้ขึ้นเมื่ออายุ6  ปีโดยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแปรงฟันเองตั้งแต่  2ขวบแล้วแปรงซ้ำให้จนสะอาดอย่างน้อยวันละครั้ง 

จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและการเปลี่ยน พฤติกรรมขณะท้อง แต่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ก็สามารถดูแลให้ลูกในครรภ์มีฟันดีได้ เพราะ ฟันน้ำนมจะมีการสร้างตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 6 สัปดาห์คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนไปตรวจสุขภาพช่องปากและขอคำแนะนำในการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ในการรับการตรวจช่องปาก  มีทักษะดูแลความสะอาดฟันของหลานและฝึกแปรงฟัน ดูแลตนเอง และได้รับการขูดหินน้ำลายเพื่อลดการ แบบลงมือทำพร้อมๆ กัน ผ่านไป 1 ปี ผู้สูงอายุ อักเสบ เพื่อช่วยเรื่องสุขภาพทั้งของแม่และลูก เหล่านี้ทำให้ลูกหลานมีฟันผุลดลงถึง 7 เท่า ในคราวเดียวกัน โดยสามารถทำได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่จะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กอีกทางหนึ่ง แม่ตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง อาเจียน  คือห้ามไม่ให้มีน้ำตาลในขวดนมเด็กเด็ดขาด ไม่ว่า การอาเจียนทำให้น้ำลายในช่องปากเป็นกรด จะเป็นนมรสหวาน น้ำผลไม้ น้ำหวาน และต้อง การหมั่นบ้วนปากบ่อยๆ ด้วยน้ำเปล่า ผงฟูเล็กน้อยผสมน้ำเปล่าบ้วนปากจะช่วยให้ น้ำลายเป็นกลางมากขึ้น เป็นการลดอัตราการฟันผุของหญิงตั้งครรภ์ได้

ทุกครอบครัวควรใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปาก สิทธิ์หญิงตั้งครรภ์..ดูแลช่องปากฟรีตนเองและเด็ก  เพื่อลดปัญหาโรคฟันผุ โดยใช้โอกาสสำคัญเนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคม เป็นวันเริ่มต้นสิ่งดีๆ พร้อมๆ กัน

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

ดาวน์โหลด eBook สุขภาพ

แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพพร้อมให้คุณดาวน์โหลดไปศึกษาฟรี!