Warning: Undefined variable $bg in D:\wwwroot\multimedia\wp-content\themes\anamai_2021_v1_0_1\single.php on line 28
>

2 ท่าบริหารหลัง ไหล่ ในสำนักงาน

  • 25 พฤษภาคม 2562

กลุ่มวัยทำงานมีบทบาทสำคัญในการดูแลครอบครัว อาจอยู่ในบทบาทการเป็นผู้นำครอบครัว หรือสมาชิกในครอบครัว และเป็นกำลังหลักในการทำหน้าที่ในการดูแลกลุ่มวัยต่างๆ ในครอบครัว และเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ส่วนใหญ่กลุ่มวัยทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน สถานประกอบการ และชุมชน

     เนื่องจากปัจจุบันการทำงานที่เร่งรีบ และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมนั่งทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้ขาดการออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคที่เกิดจากการทำงาน หรือที่เรียกว่า Office Syndrome คือ กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยจากการทำงาน โรคในกลุ่มนี้มักจะเกิดจากการทำงานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ  การนั่งทำงานนานๆ ที่อาจจะส่งผลทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณหลังและไหล่ได้ ซึ่งมีวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ง่ายคือ การปรับสภาพที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ จัดโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม  และจัดโครงสร้างร่างกายให้เหมาะสมในการทำงาน เพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย และควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อขณะทำงานเป็นระยะ เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ โดยท่าที่ง่ายสำหรับการยืดเหยียดในที่ทำงานอย่างง่าย ขอแนะนำท่าบริหารหลังและไหล่ 2 ท่า ดังนี้

  • ท่าที่หนึ่ง คือ ยกแขนขึ้นทั้ง 2 ข้าง ศอกทำมุม 90 องศา ขยับแขนไปด้านหน้า และด้านข้างลำตัว ทำสลับกันไปมา
  • ท่าที่สอง คือ ยื่นแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหน้าขนานกับพื้น จากนั้นดึงศอกเข้ามาข้างลำตัว และยื่นแขนออกไป ทำสลับกันไปมา

     โดยแต่ละท่าทำจำนวน 10 ครั้ง และควรพักสายตาจากการทำงาน ทุกๆ 2 ชั่วโมง และลุกนั่ง เดิน ทำยืดเหยียดบ่อยครั้ง เพื่อผ่อนคลายเป็นระยะ

     การบริหารหลังและไหล่ในสำนักงาน สามารถทำได้บ่อยครั้งและเข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้ประชาชนวัยทำงานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตัดสินใจเลือกและนำความรู้มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจนเกิดเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเอง สามารถนำไปบอกต่อให้กับบุคคลใกล้ชิด บุคคลในสถานที่ทำงาน และในชุมชนให้เกิดมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์ สามารถลดภาวะเสี่ยง ลดโรค และเฝ้าระวังปัญหาโรคเรื้อรังในประชาชนวัยทำงานได้

กลุ่มอนามัยวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

กรมอนามัย

31 ตุลาคม 2561

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH