สูงดีสมส่วน : EP.4 หญิงให้นมบุตรกินอย่างไรให้ลูกสูงดีสมส่วน

  • 25 พฤษภาคม 2562

      การให้นมลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่คุณแม่ทุกคนภูมิใจและมีความสุขที่ได้ส่งต่อน้ำนมบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วยสายใยรักและสารอาหารที่คุณค่าสำหรับลูก  คุณแม่หลายคนที่มีความกังวลกับการให้นมลูก และการกินอาหารของตัวเอง เพราะอาหารที่กินเข้าไปมีผลต่อน้ำนมแม่ที่ลูกกิน

      กินอย่างไรให้น้ำนมแม่มีคุณภาพและมีปริมารที่เพียงพอกับความต้องการของลูก ช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องการสารอาหารมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้สำหรับผลิตน้ำนม  จึงควรกินอาหารให้ครบถ้วนทั้ง  5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง วันละ 10-12 ทัพพี  กลุ่มผัก วันละ 6 ทัพพี  กลุ่มผลไม้ วันละ 6 ส่วน   กลุ่มเนื้อสัตว์ 12-14 ช้อนกินข้าว และกลุ่มนม วันละ 2-3 แก้ว  แต่ละกลุ่มให้กินในปริมาณที่เพียงพอและหลากหลาย ใช้เกลือหรือเครื่องปรุงรสเค็มในการปรุงอาหารทุกครั้ง ไม่กินอาหารรสหวาน

      หญิงให้นมบุตรต้องกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็กและโฟลิกทุกวัน เพื่อให้น้ำนมแม่มีคุณภาพและสารหารที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อย    

เด็กทารกในช่วง 6 เดือนแรก กินอาหารอื่นนอกจานมแม่ได้หรือไม่ ?

    ขนาดกระเพราะอาหารของทารกอายุ 1 วัน มีขนาดเท่ากับลูกเชอรี่  และโตขึ้นขนาดเท่าไข่ไก่ เมื่ออายุ      1 เดือน หากแม่ให้ลูกกินน้ำ หรืออาหารอื่น ลูกจะกินนมแม่ได้น้อยลง และหากให้ลูกกินข้าว จะทำให้อาหารย่อยยาก ท้องอืด ทารกจะมีอาการปวดท้อง ร้องแง เพราะอาหารไม่ย่อย หรือทารกบางคนนอนหลับเป็นเวลานาน ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนไม่ควรกินอาหารอื่นรวมทั้งน้ำนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือหิวน้ำ เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วน และน้ำอยู่แล้ว และยังช่วยป้องกันทารกจากเจ็บป่วย

    ดังนั้นหากคุณแม่ เลือกกินอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมแม่ ทำให้ลูกเจริญเติบโตเต็มศักยภาพเป็นเด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วน

กลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย สำนักโภชนาการ

มกราคม 2561

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH