สูงดีสมส่วน : EP3 หญิงตั้งครรภ์กินอย่างไรให้ลูกสูงดีสมส่วน

  • 25 พฤษภาคม 2562

อาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผ่านทางรก หากคุณแม่กินอาหารน้อย จะทำให้ลูกขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวน้อย อาจเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม หากคุณแม่กินอาหารมากไป เสี่ยงทำให้ลูกมีน้ำหนักแรกเกิดมากเกินไปหรืออ้วน คุณแม่จึงจำเป็นต้องกินอาหารครบถ้วน เพียงพอและเหมาะสม จะทำให้ลูกมีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2,500 – 4,000 กรัม มีความยาวมากกว่า 50 เซนติเมตร หรือเรียกว่า สูงดีสมส่วน แสดงถึงการสร้างที่สมบูรณ์ของสมอง กล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะในร่างกาย 

คุณแม่อายุครรภ์ 3 เดือนแรก อาจมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารได้น้อย ไม่ต้องกังวล คุณแม่สามารถได้เท่าที่กินได้ แต่ให้กินเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และนม เพิ่มขึ้น ในปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ กลุ่มเนื้อสัตว์วันละ 12 ช้อนกินข้าว กลุ่มผักวันละ 6 ทัพพี กลุ่มผลไม้วันละ 5 ส่วน และนม วันละ 2-3 แก้ว เมื่ออายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป ให้กินในปริมาณนี้จนกระทั่งคลอด ยกเว้นผลไม้เพิ่มเป็น 6 ส่วน

ในหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 19 ปี ให้กินข้าว-แป้ง วันละ 10 ทัพพี และหญิงตั้งครรภ์อายุ 19 ปีขึ้นไป ให้กินข้าว-แป้ง วันละ 9 ทัพพี  อาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารหวาน มัน เค็ม อาหารหมักดอง ชา กาแฟ และเครื่องที่มีแอลกอฮอล์

นอกจากนี้คุณแม่ ต้องกินวิตามินเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และโฟลิกทุกวัน เพื่อการเจริญเติบโตของลูก สร้างเซลล์สมอง ให้ลูกมีสติปัญญาดี

กลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย สำนักโภชนาการ

มกราคม 2561

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH