กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการลดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในกลุ่มวัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง รณรงค์การคุมกำเนิดทั้งแบบชั่วคราว และแบบกึ่งถาวร เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พร้อมแนะทางออกสำหรับวันรุ่นที่ต้องการคำปรึกษา สามารถโทร 1663 ได้ทุกวัน
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานแก้ปัญหาเรื่องท้องไม่พร้อมมาโดยตลอด ซึ่งล่าสุดได้ร่วมกับโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัยร่วมกันใช้แนวทางหลักในการรณรงค์เดียวกันกับนานาชาติคือ “การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพ” (Abortion is heเนิด ถุงยางอนามัย และการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร คือการฝังยาคุมกำเนิดและใส่ห่วงอนามัย เพื่อป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อมอย่างปลอดภัยและยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้บริการ ยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ในภาวะหลังคลอดหรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิด ในทุกสิทธิสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค) สิทธิประกันสังคม หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยลดปัญหาแม่วัยรุ่นและป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในครั้งที่ 2 และลดการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
“สำหรับวัยรุ่นบางรายที่ท้องไม่พร้อมและยังหาทางออกกับปัญหาไม่ได้ สามารถโทรไปปรึกษาเครือข่ายอาสาส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย สายด่วน 1663 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 21.00 น. ได้ทุกวัน เพื่อรับบริการปรึกษาทางเลือกและส่งต่อดูแล ไม่ว่าทางเลือกจะเป็นการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ รวมทั้งการให้บริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังผลักดันให้เกิดเครือข่ายการให้บริการและส่งต่อการยุติ การตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ซึ่งปัจจุบันเครือข่าย RSA มีแพทย์อาสา จำนวน 157 คน สหวิชาชีพอาสา RSA จำนวน 614 คน มีหน่วยบริการที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาทั้งหมด จำนวน 135 แห่ง” รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุดalth care) มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ปลอดภัยและเป็นมิตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม ดำเนินการร่วมกันภายใต้ 4 ข้อคือ 1) พัฒนาความเข้มแข็งและเครือข่ายหน่วยบริการที่ดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ต่อ 2) ขยายบริการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยอย่างทั่วถึงด้วยการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของเครือข่าย R-SA 3) สร้างความเข้าใจสาธารณะต่อสิทธิในทางเลือกของวัยรุ่นและผู้หญิง ที่ท้องไม่พร้อมโดยใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ การรณรงค์และเวทีเสวนาต่าง ๆ 4) จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และให้หญิงท้องไม่พร้อมเข้าถึงการ ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าขณะนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้ง โดยมีสาระสำคัญคือ ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ จากเดิมที่ห้ามหญิงตั้งครรภ์ทำแท้งโดยเด็ดขาด ซึ่งการกำหนดอายุครรภ์ดังกล่าวเป็นไปตามความเห็นของแพทยสภาและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แต่ในอีกด้านหนึ่งกรมอนามัยยังคงรณรงค์ ให้วัยรุ่นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำ
***
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / 19 พฤศจิกายน 2563