กรมอนามัย ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร ลดใช้พลาสติก

  • 14 พฤษภาคม 2565

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยวันวิสาขบูชาปีนี้ ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร  ลดใช้พลาสติก และปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ลดเสี่ยงโควิด-19

          กรมอนามัย เผย กินปลาร้าต้องต้มสุก โซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต

                  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาขยะพลาสติก  โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2565 พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยยังไม่คลี่คลาย เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถผลิตพลาสติกได้ปริมาณมาก และมีความหลากหลาย  ยากแก่การจำแนกชนิดพลาสติก และนำไปรีไซเคิล ขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังไม่คัดแยกขยะ รวมถึงยังต้องการความสะดวกสบาย ดังนั้น ในวันวิสาขบูชาปีนี้ กรมอนามัยจึงรณรงค์ให้พุทธศาสนิกชนที่เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และเวียนเทียน เน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เลือกใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าไปจ่ายตลาด เพื่อเลือกซื้อวัตถุดิบทำอาหาร หรืออาหารสำเร็จรูปในการทำบุญ ตักบาตร แทนถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับบางวัดที่มีโรงทานปรุงอาหารให้แก่ผู้ที่มาทำบุญ ควรใช้วัสดุธรรมชาติบรรจุอาหารเช่นกัน เพื่อเป็นการลดการใช้พลาสติกหรือโฟม

           “ทั้งนี้ ในช่วงเฝ้าระวังโควิด-19 ประชาชนที่มาทำบุญที่วัด ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการของ   กระทรวงสาธารณสุข โดยสวมหน้ากากทุกครั้งก่อนเข้าวัด หรือบริเวณโรงทาน ล้างมือให้สะอาด ก่อนและหลังกินอาหาร ส่วนผู้ปรุงอาหาร ต้องปรุงอาหารให้สุก สะอาด ไม่สัมผัสอาหารโดยตรง มีการจัดอาหาร  แบบแยกชุด รวมถึงดูแลความสะอาดของสถานที่ให้เปิดโล่ง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมทั้งจัดให้มีจุดคัดกรองผู้เข้ามาใช้บริการ กำหนดระยะห่างระหว่างบุคคล และผู้ที่จะเดินทางไปทำบุญที่วัด ควรประเมินตนเอง ผ่าน “ไทยเซฟไทย” หรือแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ด้วย″ อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

***

กรมอนามัย / 14 พฤษภาคม 2565

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH