นอนหลับสนิท ชีวิตยืนยาว

  • 26 พฤษภาคม 2562
เราควรนอนหลับสนิท 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้พักผ่อน ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ไม่ต้องออกแรงมากเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปรับสมดุลของสารเคมีต่างๆ ตลอดจนเป็นระยะที่สมองทำการเรียบเรียงข้อมูล และจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ทำให้สมองเกิดการจดจำและมีพัฒนาการ
ระยะเวลาการนอนหลับที่เหมาะสม
  •    วัยแรกเกิด (แรกคลอด – 3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
  •    วัยทารก (4 เดือน – 1 ปี) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
  •    วัยเตาะแตะ (1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
  •    วัยก่อนเข้าเรียน (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
  •    วัยเข้าโรงเรียน (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
  •    วัยรุ่น (14- 17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
  •    วัยทำงาน (15-59 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมง 
  •    วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7–8 ชั่วโมง
หากนอนหลับไม่เพียงพอ ก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท การคิด ความจำ  รวมไปถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ และอาจสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
กลุ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนากำลังคนฯ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
14 มีนาคม 2562
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH