Warning: Undefined variable $bg in D:\wwwroot\multimedia\wp-content\themes\anamai_2021_v1_0_1\single.php on line 28
>

การสุขาภิบาลที่พักอาศัยในจุดอพยพ

  • 19 มีนาคม 2568
 

การสุขาภิบาลที่พักอาศัยในจุดอพยพ

 
📍 โดยจุดอพยพที่ปลอดภัย อาจเป็นโรงเรียน ศาลาวัด หรือเต้นท์ชั่วคราว ทั้งนี้ควรแบ่งเป็นสัดส่วน ดังนี้
🔸 1. การจัดการมูลฝอย
🖇️ – มูลฝอยทั่วไป ต้องมีการรวบรวมใส่ถุงขยะมัดปากถุให้แน่น ป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นรบกวน
🖇️ – มูลฝอยอื่นๆ ต้องจัดให้มีระบบการคัดแยกมูลฝอยตามประเภทก่อนส่งกำจัด เพื่อสะดวกต่อการนำไปกำจัด
🔸 2. บริเวณห้องส้วม
ต้องจัดให้มีห้องส้วม แยก ชาย-หญิง อย่างน้อง 1 ห้อง/50 คน ในระยะแรก และเร่งเพิ่มจำนวนส้วมเป็น 1 ห้อง/25 คน โดยเร็ว มีระบบกักเก็บสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล และส้วมตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะ อย่างน้อย 10 เมตร หรือแหล่งน้ำตื้นที่ประชาชนให้อุปโภคบริโภค อย่างน้อย 30 เมตร
🔸 3. บริเวณห้องอาบน้ำ
ควรอยู่ใกล้จุดจ่ายน้ำมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ท่วมขังแยกชาย – หญิง โดยบริเวณที่อาบน้ำมีผนังกั้นมิดชิด มีภาชนะบรรจุน้ำสำหรับอาบขนาดที่เพียงพอต่อการใช้งานของจำนวนคนที่ใช้งานในอัตรา 1 คน ต่อน้ำ 40 ลิตร
🔸 4. บริเวณที่รับประทานอาหาร
ควรอยู่ใกล้ๆ กับที่ปรุงอาหาร เพื่อความสะดวกในการรับประทานอาหารและป้องกันกลิ่น แมลง และสัตว์พาหนะนำโรคมารบกวน
🔸 5. บริเวณปรุงอาหารหรือครัว
ควรแยกให้ห่างจากที่นอนหรือที่พักผ่อน ป้องกันกลิ่น แมลงและสัตว์พาหะนำโรค ควรมีการระบายอากาศดี มีโต๊ะหรือชั้นสำหรับเตรียมปรุงอาหาร ห้าามวางกับพื้นโดยเด็ดขาด
🔸 6.บริเวณที่นอนหรือพักผ่อน
พื้นเรียบสม่ำเสมอ การระบายอากาศดี มีแสงสว่างพอที่จะอ่านหนังสือได้สบายตา เวลากลางคืนควรกางมุ้ง ป้องกันยุง หากเป็นเต้นท์ควรปรับพื้นให้เรียบ ปู้ด้วยผ้ายาง หรือพลาสติก ต้องกำจัดมดและแมลงต่างๆ โดยโรยปูนขาวรอบบริเวรณ เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงมีพิษ (อัตราส่วนของพื้นที่ต่อบุคคล คือ 2 ตารางเมตร/คน)
 
📍 ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย 💖📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรา
https://www.facebook.com/anamaidoh

และอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อ ติดตามสาระความรู้สุขภาพควบคู่ไปกับความบันเทิง เพิ่มเติมได้ที่
https://www.tiktok.com/@health.anamai.thailand และ https://www.tiktok.com/@healthyoffice.thailand

 
#สาระสุขภาพ #อนามัยสิ่งแวดล้อม #น้ำท่วม
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH