กรมอนามัยมีข้อมูลมาแชร์ในภาวะน้ำท่วมเช่นนี้
ที่หลาย ๆ คนแบ่งปันน้ำใจแบ่งปันพื้นที่เพื่อให้เป็นที่พักพิงกับผู้ประสบภัยน้ำท่วมจนไม่สามารถอาศัยในพื้นที่ได้ หรือเรียกว่า ศูนย์อพยพ(หรือชั่วคราว)
ก็ได้ค่ะ กับ
การจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม รองรับน้ำท่วม ในศูนย์อพยพ
การจัดการส้วม
ต้องมีจำนวนเพียงพอและมีการดูแลรักษษความสะอาด โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วมและอุปกรณ์ในห้องน้ำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
ในกรณีที่เป็นสุขาเคลื่อนที่
ให้มีการนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัดอย่างถูกต้อง ตามหลักสุขาภิบาล
การจัดการน้ำดื่มน้ำใช้
น้ำดื่ม – หากมีการบริจาคให้สังเกตวันหมดอายุ มีการปิดฝาให้แน่น
น้ำใช้ – ตรวจประเมินโดยการสังเกต ลักษณะน้ำใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นผิดปกติ หากขุ่นให้ใช้สารส้มแกว่ง เพื่อให้ตกตะกอน และเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปใช้
ตรวจปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำทุกวัน หากมีค่าต่ำกว่า 0.2 mg/l ให้เติมคลอรีนให้ได้มาตรฐานก่อนนำมาใช้
การระบายอากาศ
จัดพื้นที่ในศูนย์อพยพ ❝ให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ” จัดให้มีระยะห่างระหว่างจุดตามความเหมาะสม เพื่อลดความแออัด
การจัดการขยะ
❝มีถังขยะ สำหรับคัดแยก ทิ้งขยะ” และมีการเก็บ ขน เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีทุกวัน
การทำความสะอาด
❝ทำความสะอาดศูนย์อพยพ หรือ สถานที่พักพิงขั่วคราว❞ โดยสร้างสุขนิสัยของผู้ประสบภัยให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดร่วมกัน
กรมอนามัย ขออยู่เคียงข้างและห่วงใยสุขภาพ สุขอนามัย ของ ประชาชน และ ไม่หยุดส่งกำลังใจทุกรูปแบบ ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมขังทุกท่าน
ขอให้ประชาชนทุกท่านปลอดภัย ทั้งจากภัยธรรมชาติ โรคแฝงที่ตามมากับน้ำ และ อันตรายจากสัตว์มีพิษและพาหะนำโรคต่าง ๆ ด้วยนะคะ
ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย
อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรา
https://www.facebook.com/anamaidoh
และอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อ ติดตามสาระความรู้สุขภาพควบคู่ไปกับความบันเทิง เพิ่มเติมได้ที่
https://www.tiktok.com/@health.anamai.thailand และ https://www.tiktok.com/@healthyoffice.thailand
#สาระสุขภาพ #สุขาภิบาลอาหารและน้ำ #น้ำท่วม