การบริหารกาย (Style) พระสงฆ์ (ฉบับหัวใจและหลอดเลือด)

  • 18 ตุลาคม 2567
การบริหารกาย 💪 (Style) พระสงฆ์ (ฉบับหัวใจและหลอดเลือด) 🫀
  🔸 การบริการกายของพระสงฆ์ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงใน 3 ด้าน คือ
    1️⃣ เสริมสร้างความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด
    2️⃣ สร้างความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ
    3️⃣ สร้างความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  🔸 ก่อนที่จะเริ่มบริหารกาย มาทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบความแข็งแรงทั้ง 3 ด้านกันดีกว่าครับ โดยในวันนี้กรมอนามัยนำเสนอในหัวข้อแรกว่าด้วย
❝ การเสริมสร้างความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ❞
  📑 ประโยชน์ที่ได้จากการบริหารกายประเภทนี้ คือ
    ✨ กล้ามเนื่อหัวใจแข็งแรงขึ้น
    ✨ อัตราการเต้นของชีพจรในขณะพักลดลง รวมทั้งอัตราการเต้นของชีพจรขณะบริหารกายช้าลง
    ✨ การเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน
    ✨ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
    ✨ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหัวใจขณะพัก
    ✨ ควบคุมภาวะโรคเรื้อรังต่าง ๆ ไม่ให้รุนแรงขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
    ✨ ช่วยให้ระบบของร่ายกายต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติ เช่น ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ เป็นต้น
ถ้าในกิจวัตรประจำวันมีการใช้แรงในการทำงานน้อย ⁉️ สามารถบริหารกายเพื่อสร้างความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยทำในช่วงเวลาว่าง ๆ ได้ดังนี้
  🔸 ท่าเริ่มต้น : ยืนหันหน้าเข้าบันได ถ้าเป็นพระสงฆ์สูงอายุควรจับราวบันไดไว้ หรือ เก้าอี้ตัวเล็ก หรือ กล่องไม้ที่แข็งแรง
  🔸 ท่าปฏิบัติ : จากนั้นให้ก้าวเท้าขวาขึ้นบันได หรือ กล่องไม้ แล้วตามด้วยก้าวเท้าซ้าย หลังจากนั้นถอยลงด้วยเท้าซ้ายแล้วตามด้วยเท้าขวา ทำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10-20 นาที ทำเพิ่มเวลาไปเรื่อย ๆ เท่าที่ทำได้จนรู้สึกเหนื่อย
📑 ข้อมูลโดย : กลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
 
📍 ด้วยศรัทธาและห่วงใย อยากให้พระสงฆ์ทุกรูปมีสุขภาพดี 💝 จาก กรมอนามัย
 
#สาระสุขภาพ #ออกกำลังกาย
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH