หลัก4S สำหรับการจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราวจากกรณีภาวะฉุกเฉิน

  • 27 กันยายน 2567

🚨 กรมอนามัย ขอเสนอ หลัก 4S สำหรับ การจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว จากกรณี ภาวะฉุกเฉิน

👉 การจัดการด้านสุขาภิบาล สุขอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ทำได้ด้วย 4 S ดังนี้
     🔸 S1 – Survey สำรวจพื้นที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวโดยรอบจัดทำผังภาพรวม กำหนดจุดวางระบบสุขาภิบาล
     🔸 S2 – System Evaluation ประเมินความพร้อมระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากไม่เพียงพอ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล ระบบประประปาประสานขอรับการสนับสนุนจากเครือง่ายในพื้นที่
     🔸 S3 – Sanitation Management การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาพรวบของศูนย์พักพักพิงชั่วคราว
                     – กำหนดพื้นที่ที่พักไม่แออัด จัดแบ่งโซนสำหรับ กลุ่มเสี่ยงกลุ่มเปราะบาง และกำหนดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น พื้นที่ให้นบุตรและพื้นที่คัดกรองสุขภาพ เป็นต้น
                     – จัดให้มีห้องน้ำห้องส้วม อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ หากไม่เพียงพอให้ประสานหน่วยงานในพื้นที่เพื่อขอรับการสนับสนุนส้วมเคลื่อนที่และมีการจัดระบบสูบสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
                        ให้ถูกต้อง
                     – จัดระบบระบายอากาศที่ดี ใช้วิธีการระบายอากาศตามธรรมชาติหรือเครื่องปรับอากาศขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างอาคาร
                     – การจัดการขยะ ประสานหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นให้จัดเตรียมถังขยะแบบแยกประเภทให้เพียงพอและกำหนดมาตรการเก็บ ขน เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีทุกวัน
     🔸 S4 – Surveillance กำหนดขอบเขตและมาตรการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
                     – เฝ้าระวังด้านสุขากิบาลอาหาร ตรวจประเมินการปนเปื้อนเชื้อโรค ในอาหาร ประเมินความสะอาดของ พื้นที่ประกอบปรุง อุปกรณ์ทำอาหารจานชาม และผู้สัมผัสอาหาร
                     – เฝ้าระวัง คุณภาพน้ำใช้ ตรวจวัดระดับคลอรีนคงเหลืออิสระในน้ำให้ได้ตามมาตรฐานและตรวจประเมินการปนเปื้อนเชื้อโรค หากพบว่าน้ำมีการปนเปื้อนหรือไม่สะอาด ให้ทำการ
                       ปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น ใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรค หรือใช้ระบบกรองน้ำ เป็นต้น
 
📑 ข้อมูลโดย : กองอนามัยฉุกเฉิน กรมอนามัย
📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะครับ
 
#สาระสุขภาพ #สุขาภิบาลอาหารและน้ำ #อนามัยสิ่งแวดล้อม
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH