การบริหารกาย (Style) พระสงฆ์ (ฉบับกล้ามเนื้อแข็งแรงทนทาน)
วันนี้กรมอนามัย มามอบความเข้าใจองค์ประกอบการบริหารกายของพระสงฆ์ ในฉบับที่ 2 ว่าด้วย
“สร้างความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ”
ประโยชน์ที่ได้จากการบริหารกายประเภทนี้ คือ
ชะลอ การเสื่อมสภาพ ของโครงสร้าง ร่างกาย
ป้องกันและบรรเทา อาการปวดเข่าปวดหลัง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
สร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อและ กระดูก ทำให้ร่างกาย เคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยในการทรงตัวได้ดี ป้องกันการล้มของ พระสงฆ์สูงอายุ
ช่วยลดไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการลดภาวะเสี่ยง ของโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคข้อเรื้อรัง มีอาการดีขึ้น เป็นต้น
สามารถบริหารกายเพื่อสร้างความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ 6 ส่วน โดยทำในช่วงเวลาว่าง ๆ ได้ดังนี้
บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล
หมายเหตุ : น้ำหนักที่เหมาะสม คือน้ำหนักที่ยก 8-12 ครั้ง แล้วรู้สึกเมื่อยล้าและ หมดแรงพอดี ไม่สามารถยกต่อไปได้อีก
บริหารกล้ามเนื้อสะบัก
บริหารกล้ามเนื้อแขนส่วนล่าง
บริหารกล้ามเนื้อลำตัว
บริหารกล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการปวดเข่า ปวดหลัง อาการหมอนรองกระดูก สันหลังปลิ้น ทับรากประสาท หน้ามืด เวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัวไม่ควรฝึกท่านี้
บริหารกล้ามเนื้อลำตัว
ข้อมูลโดย : กลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
ด้วยศรัธทาและห่วงใย อยากให้พระสงฆ์ทุกรูปมีสุขภาพดี จาก กรมอนามัย
อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์ “การบริหารกาย(Style)พระสงฆ์” ฉบับสุดท้าย และ สาระสุขภาพจากเรานะครับ
#สาระสุขภาพ #ออกกำลังกาย