4 วิธีเตรียมความพร้อม รับภัยน้ำท่วม
ติดตาม
ติดตามข้อมูลข่าวสาร จากทางราชการ อย่างใกล้ชิด ผ่านทางเสียงตามสาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ
เตรียมพร้อม
ยกสิ่งของขึ้นชั้นบน หรือ ที่สูง
❝รู้หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน❞ ของหน่วยงานท้องถิ่น
เรียนรู้ ❝เส้นทางการอพยพ❞ ไปอยู่ที่ปลอดภัยและใกล้บ้านที่สุด
เตรียมโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน อาหารแห้ง น้ำดื่ม ❝ยารักษาโรคประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน❞
หากอยู่ในพื้นที่เสียง ควรเตรียมกระสอบทราย เพื่อให้อุดปิดช่องทางที่น้ำจะไหลเข้าบ้านได้
นำรถยนต์และพาหนะไปจอดไว้ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง
❝ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก๊ส ยกเบรกเกอร์❞ ปิดบ้านให้เรียบร้อยก่อนออกจากบ้าน
ควรมีป้ายระบุบริเวณฟิวส์ หรือ เบรกเกอร์ ว่าตัวใดควบคุมการใช้ไฟตรงจุดใดของบ้าน
ดูแลและปฏิบัติ
หากต้องเดินลุยน้ำ ควร ❝สวมร้องเท้าบู๊ทกันน้ำ❞ หลังเดินลุยน้ำต้องล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
ไม่ควรขับรถฝ่าทางน้ำหลากหรือพื้นที่น้ำท่วมขัง (น้ำท่วมสูงเพียง 15 เซนติเมตร ทำให้ยานพาหนะเสียหลักล้มได้ และสูงถึง 50 เซนติเมตร ทำให้รถจักยานยนต์ลอยได้)
หากเห็นสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด ควรแจ้ง 191 หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
❝ดูแลผู้สูงอายุ เด็กและคนในครอบครัวให้รู้จักป้องกันตนเอง❞ เช่น ขณะน้ำท่วมต้องไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ
❝หลีกเลี่ยงหรืออยู่ใกล้ทางน้ำหลาก และระวังสัตว์มีพิษ❞ กัด ต่อย เช่น งูตะขาบ แมลงป่อง
❝ระวังแก๊สรั่ว ห้ามสูบบุหรี่❞ หรือ จุดไฟ ให้เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายอากาศ
หากน้ำท่วมสูงให้อพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย หรือ ศูนย์พักพิงชั่วคราว
เมื่อน้ำลด ควรทำความสะอาดทันที จะช่วยให้ขจัดคราบสกปรกได้ง่าย และคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
ป้องกัน
❝หมั่นติดตามข้อมูลข่าวสาร❞ การแจ้งเตือนจากทางราชการอย่างใกล้ชิด
ปรับระดับพื้นที่พักอาศัยให้สูงขึ้น ป้องกันการเกิดน้ำท่วมในอนาคต หรือ ❝จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม❞
ข้อมูลโดย : กองอนามัยฉุกเฉิน กรมอนามัย
ด้วยรักและห่วง อยากให้พระสงฆ์ไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย
อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ
#สาระสุขภาพ #แม่และเด็ก #วัยเรียนวัยรุ่น #วัยทำงาน #ผู้สูงอายุ #อนามัยสิ่งแวดล้อม