เตรียมพร้อมด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมรองรับภัยแล้ง แนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่

  • 13 มิถุนายน 2566

เตรียมพร้อมด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม..รองรับภัยแล้ง

แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวคล้อม

    1. คิดตามสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในพื้นที่

    2. เตรียมความพร้อมของสถานบริการการสาธารณสุข สำรวจและจัดทำแผนเผชิญเหตุกรณีขาดแคลนน้ำสหรับกรณีขาดแคลนน้ำสู่ สำหรับใช้ในหน่วยงาน

เพื่อให้ประชาชนได้รับน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ

   3. จัดเตรียมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในช่วงภัยแล้งให้แก่ประชาชน

เช่น คลอรีนน้ำ สารสัม หยุดทิพย์ เป็นต้น

   4. สื่อสาร เตือนภัยสถานการณ์ภัยแล้งให้กับประชาชนทราบ เพื่อเตรียมสำรองน้ำสะอาดใช้ในชุมชนและครัวเรือน

   5. การเตรียมการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในช่วงเกิดภัยแล้ง เช่น การจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ การดูแลความสะอาดตลาด ร้านอาหารการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค เป็นต้น

 

แนวปฏิบัติสำหรับประชาชน

   1. ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยแล้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   2. เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเปราะบางในบ้าน เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื่องรังที่ได้รับผลกระทบ ต่อสุขภาพจากการบริโภคน้ำไม่สะอาด

   3. กินอาหาร ปรงสุกใหม่ และปรับปรุงคุณภาพน้ำในครัวเรือนก่อนนำมาดื่ม เช่น ต้ม กรอง เป็นต้น

   4. สำรองน้ำในครัวเรือนทำความสะอาดที่กักเก็บน้ำและทำความสะอาดหัวกรองน้ำ

   5. วางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัดไม่เปิดน้ำทิ้งขณะที่ไม่ใช้ ใช้น้ำจากผักบัวแทนการตักอาบ และนำน้ำจากการอาบน้ำ ซักผ้า ล้างจาน มาใช้รดน้ำต้นไม้

   6. เน้นปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น พีชตระกูลถั่ว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น

   7. งดจุดไฟ เผาหญ้า หรือในพื้นที่ที่มีเศษวัสดุ เชื้อเพลิง หญ้าแห้ง รือสูบบุหรี่เพื่อป้องกันการเกิดไฟใหม้ 

#อนามัยสิ่งแวดล้อม

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH