แนวปฏิบัติการปิดศูนย์แยกกักตัวในชุมชนและการจัดการสิ่งแวดล้อมและด้านอื่น ๆ (20 กันยายน 2564)

  • 15 มีนาคม 2565
แนวปฏิบัติการปิดศูนย์แยกกักตัวในชุมชนและการจัดการสิ่งแวดล้อมและด้านอื่น ๆ (20 กันยายน 2564)

แนวปฏิบัติการปิดศูนย์แยกกักตัวในชุมชนและการจัดการสิ่งแวดล้อมและด้านอื่น ๆ (20 กันยายน 2564)

  • การจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
  • ตรวจสอบปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำอุปโภค ให้มีค่าระหว่าง 0.5 – 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ติดต่อกันอย่างน้อย 4 วัน
  • กําจัดอาหาร หรือเศษอาหารที่เหลือทั้งหมดในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน หรือศูนย์พักคอย
  • การจัดการมูลฝอยและมูลฝอยติดเชื้อ 
  • กำจัดมูลฝอยและมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมดของผู้ป่วย
  • ล้างทําความสะอาดถังขยะ หรือสถานที่รวบรวมขยะด้วย ผงซักฟอก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และนำไปตากแดดให้แห้ง
    • การจัดการสิ่งปฏิกูล
      • ทำความสะอาดบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น 0.1% นานอย่างน้อย 10 นาที และทําความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก หรือน้ำยาทําความสะอาด
      • กรณีส้วมเต็มและต้องสูบสิ่งปฏิกูลไปกําจัด ในระบบกําจัดสิ่งปฏิกูล ให้เติมสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลต่อจุลินทรีย์ ในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เช่น กรดเปอร์อะซิติก โดยน้ำเสียที่ผ่านการบําบัด ก่อนปล่อยทิ้ง ต้องหาการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน
  • การจัดการนํ้าเสีย
  • เติมคลอรีนในน้ำที่ผ่านระบบบําบัดน้ำเสียให้มีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือไม่น้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือบําบัดด้วยระบบยูวี หรือโอโซน ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน หลังปิดศูนย์แยกกักตัวในชุมชน หรือศูนย์พักคอย
  • การจัดการ PPE
  • รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง แว่นตาป้องกันตา ผ้ายางกันเปื้อน สามารถนํากลับมาใช้ซ้ำได้ โดยแช่ในน้ำยา ที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น 0.5% นาน 30 นาที แล้วล้างด้วยนํ้าสะอาด และนำไปตากแดดให้แห้ง
  • การจัดการของใช้อื่นๆ
  • ทําความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ไม้ถูพื้น พัดลม โคมไฟ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำผงซักฟอก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และนําไปตากแดดให้แห้ง
  • ผ้าปูเตียง ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าเปื้อนของผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการผ้าเปื้อน ติดเชื้อด้วยการชักที่น้ำอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 71 องศาเซลเซียส นาน 25 นาที และนําไปตากแดดให้แห้ง

 

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH