9 คำถามของคุณแม่ตั้งครรภ์ในสถานการณ์ของโควิด – 19
- สตรีตั้งครรภ์ถ้าติดเชื้อ จะมีผลต่อลูกหรือไม่
คำตอบ
- คลอดลูกก่อนกำหนด 1.5 เท่า
- ลูกติดเชื้อได้ 3-5 %
- เด็กตายคลอด 2.8 เท่า
- แต่ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ
- ลูกต้องเข้า ICU 9 เท่า
- สตรีตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19 จะมีอาการอะไรบ้าง
คำตอบ
- ไอ 50%
- ปวดศีรษะ 43%
- ปวดกล้ามเนื้อ 37%
- ไข้ 32%
- เจ็บคอ 28%
- หายใจเหนื่อย 26%
- จมูกไม่ได้กลิ่นหรือลิ้นไม่รับรสชาติ 22%
- อ่อนเพลีย 14%
- สตรีตั้งครรภ์ถ้าติดเชื้อแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
คำตอบ 80-90% จะไม่มีอาการหรืออาการน้อย
10% จะมีอาการหนัก
5% จำเป็นต้องเข้า ICU
เสียชีวิตราว 1.5-8 ใน 1,000 คน
- ถ้าติดเชื้อ หลังคลอดจะกอดและอุ้มลูกได้หรือไม่
คำตอบ
- หลังคลอด จะมีการแยกลูกออไปตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน
- หากไม่พบเชื้อในตัวลูก มารดาสามารถกอดและอุ้มลูกได้แต่ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือก่อนและหลังจับตัวลูก งดหอมแก้มลูก ไม่ไอหรือจามใส่ เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
- หากพบว่าลูกติดเชื้อรุนแรง จะต้องแยกไปรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด
- หากพบว่า ลูกติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และมารดาไม่มีอาการหรืออาการน้อยไม่จำเป็นต้องแยกจากแม่
- แม่ที่ติดเชื้อและได้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) จะให้นมลูกได้หรือไม่
คำตอบ งดให้นมลูก เนื่องจากยาจะออกมาทางน้ำนมได้
- ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้ว พบว่าตั้งครรภ์จะทำอย่างไร
คำตอบ จากข้อมูลปัจจุบัน ไม่พบว่า วัคซีนจะทำให้เกิดทารกพิการแต่กำเนิด จึงไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน แต่ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ออกไปฉีดในช่วงหลังเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์
- ถ้าสตรีตั้งครรภ์ จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
คำตอบ ปรึกษาสูติแพทย์ที่ดูแลท่าน เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- การฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
- ชนิดของวัคซีน ใช้ได้หลายชนิด เช่น Sinovac + AstraZeneca หรือ AstraZeneca 2 เข็ม หรือ mRNA 2 เข็ม
- ผลข้างเคียงของวัคซีน พบได้น้อยและไม่แตกต่างจากคนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ยกเว้นจำเป็น
- การฉีดวัคซีนชนิดอื่นควรเลื่อนไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
- สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
คำตอบ สามารถฉีดวัคซีนได้ หลังฉีดวัคซีนไม่ต้องเว้นระยะการมีบุตรสตรีที่ต้องการฉีดวัคซีน
- ไม่ต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อนฉีดวัคซีน
- ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนจะส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรในอนาคต
- หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ไหน
คำตอบ สูติแพทย์ที่ดูแลท่าน หรือ เว็บไซต์ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.rtcoq.or.th/home/สำหรับประชาชน/ถามตอบปัญหาสุขภาพ
[แม่และเด็ก] #แม่และเด็ก #COVID-19