การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานีขนส่งสาธารณะ

  • 24 มกราคม 2565
การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานีขนส่งสาธารณะ

การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานีขนส่งสาธารณะ

แนวปฏิบัติสําหรับผู้จัดการ ผู้ประกอบการ หรือผู้รับผิดชอบอาคารสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน

  1. สถานีผ่านเกณฑ์การประเมิน Thai Stop COVID plus มี Certificate ติดแสดงชัดเจน และคัดกรองความเสี่ยงของพนักงานทุกคนด้วย Thai Save Thai
  2. กําหนดทางเข้า-ออก และจัดให้มีการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสาร พนักงานอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งทําสัญลักษณ์ผู้ที่ผ่านคัดกรอง เช่น ติดสติกเกอร์ ตราปั๊ม หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
  3. พนักงาน และผู้โดยสารทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ให้บริการ และใช้บริการ และอาจมีอุปกรณ์เพิ่มเติมสําหรับพนักงาน ที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้โดยสาร เช่น ถุงมือ แผ่นใสครอบหน้า (Face shield) เป็นต้น
  4. จิตให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการอย่างเหมาะสม
  5. มีการติดตามข้อมูลผู้เดินทาง เช่น มีสมุดลงทะเบียน หรือการใช้ แอปพลิเคชันตามที่ราชการกําาหนด
  6. มีการควบคุม จํากัดจํานวนผู้โดยสาร ไม่ให้แออัด และให้มีการเว้นระยะห่าง ระหว่างรอรับบริการ
  7. จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีและเพียงพอ ภายในอาคาร และมีการทําความสะอาด เครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  8. อาคารสถานี มีการทําความสะอาดพื้นที่โดยรอบ บริเวณพื้นผิว อุปกรณ์ที่มีการสัมผัสร่วมกัน ด้วยนายาทําความสะอาดและอาจฆ่าเชื้อด้วยโซเดียมไฮโปรคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 0.1%) หรือแอลกอฮอล์ 70 % ดังนี้
  • จุดที่มีการสัมผัสร่วมทุก 1-2 ชั่วโมง เช่น เคาน์เตอร์จําหน่ายตั๋วโดยสาร ปุ่มกดตู้เช็คอิน ปุ่มกดตู้จําหน่ายเครื่องดื่ม มือจับประตู ราวบันได-บันไดเลื่อน ลิฟต์ เก้าอี้ เป็นต้น 
  • ทําความสะอาดห้องส้วมทุก 2 ชั่วโมง ด้วยน้ำยาทําความสะอาดโดยเน้นจุดเสี่ยง ที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ได้แก่ กลอนหรือลูกบิดประตู ฝารองนั่ง ฝาปิดชักโครก ก๊อกน้ำ อ่างล้างมือ ที่กดโถส้วมหรือโถปัสสาวะและสายฉีดน้ำชําระ
  1. มีมาตรการป้องกันตนเองสําหรับพนักงานทําความสะอาด พนักงานเก็บรวบรวมขยะ โดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง ใช้ที่คีบด้ามยาว เก็บขยะใส่ถุง มัดปากถุงให้มิดชิด นําไปรวบรวมไว้ที่พักขยะ
  2.  กรณีที่มีร้านอาหาร หรือมีการจําหน่ายอาหาร ให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข สําหรับการจําหน่ายอาหารในศูนย์อาหาร โรงอาหาร ร้านอาหารหรือร้านเครื่องดื่มทั่วไป
  • บริการนํ้าดื่มที่สะอาด ไม่ใช้แก้วร่วมกัน • หากผู้สัมผัสอาหารมีอาการเจ็บป่วย 
  • ปกปิดอาหารด้วยภาชนะหรือวัสดุที่สะอาด เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูกหรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดงานและพบแพทย์ทันที
  • ให้สถานที่จําหน่ายอาหารสะอาด
  • ดูแลให้ผู้สัมผัสอาหารปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ ด้วยการล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด ก่อนหยิบหรือจับอาหาร สวมหมวกคลุมผม สวมหน้ากากขณะปฏิบัติงาน ไม่ใช้มือหยิบจับ อาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง
  • ล้างภาชนะอุปกรณ์หรือสิ่งของเครื่องใช้ด้วยน้ำยาล้างจานให้สะอาด ทําความสะอาด โต๊ะอาหาร ด้วยน้ำยาทําความสะอาดทุกครั้งหลังมีผู้มาใช้บริการ
  1.  มีช่องทางการจําหน่ายตั๋วโดยสารล่วงหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัส
  2.  ผู้ประกอบการภายในสถานีขนส่งสถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ให้ปฏิบัติ ตามมาตรการที่ราชการกําหนด
  3.  ให้มีผู้รับผิดชอบ ติดตาม กํากับการปฏิบัติตามมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด

 

แนวปฏิบัติสําหรับการจัดการยานพาหนะ

  • รถประเภทราง ให้มีการเปิดระบายอากาศภายใน ขบวนเป็นระยะและระบายอากาศ เมื่อถึงสถานีปลายทาง
  • รถโดยสารระบบปรับอากาศ ต้องมีการระบายอากาศดีด้วยการเปิดประตู และหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศทุกครั้งเมื่อจอดพัก และทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  • รถโดยสารระยะไกล ควรแวะพักทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อเปิดระบายอากาศ
  1. เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดบริเวณที่ใช้งานร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู เบาะที่นั่ง/นอน ที่พักแขน ราวจับ เป็นต้น ด้วยน้ำยาทําความสะอาด และอาจใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วย รวมถึงทําความสะอาดยานพาหนะก่อนและหลังการเดินทางในแต่ละรอบ
  2. ในระหว่างการเดินทาง หากจัดบริการอาหาร ควรจัดบริการในลักษณะที่ปลอดภัย ลดการสัมผัสอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น จัดอาหารแบบกล่อง(Box set) และควรเลือกอาหาร ที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ปลอดภัย รวมทั้งนํ้าดื่มที่สะอาด
  3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการบนยานพาหนะอย่างเพียงพอ
  4. หากยานพาหนะมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน ต้องเปลี่ยนใหม่ ทุกรอบที่ให้บริการ ไม่นํามาใช้ซ้ำ
  5. ทําความสะอาดห้องส้วมบนยานพาหนะทุก 2 ชั่วโมง โดยเน้นบริเวณจุดเสี่ยง เช่น กลอนลูกบิดประตู ที่กดโถส้วม หรือโถปัสสาวะ สายฉีดนํ้าชำระ
  6. มีการเก็บรวบรวมขยะบนยานพาหนะ ใส่ถุงมัดปากถุงให้มิดชิด และนําไปกําจัด หลังเสร็จสิ้นการขนส่งผู้โดยสารในแต่ละรอบ

 

แนวปฏิบัติตนสําหรับพนักงาน (พนักงานขับรถ พนักงานต้อนรับ พนักงานทําความสะอาด)

  1. มีการควบคุมกํากับให้พนักงานมีการคัดกรองความเสี่ยง ด้วยไทยเซฟไทย (Thai Save Thai)
  2. ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด
  3. ผู้ประกอบการและพนักงานทุกคนฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือเคยมีประวัติการติดเชื้อโควิดมาก่อนอยู่ในช่วง 1-3 เดือน และทําการตรวจคัดกรองด้วย ATK ทุก 7 วัน
  4. พนักงานงดการรวมกลุ่มขณะปฏิบัติงานระหว่างพัก งดรับประทานอาหารร่วมกัน งดการทํางานข้ามเขต/แผนก

 

แนวปฏิบัติตนสําหรับผู้โดยสาร

  1. สังเกตอาการตนเองสม่ำเสมอ หากมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลําบาก ให้งดใช้บริการขนส่งสาธารณะ
  2. จัดเตรียมอุปกรณ์สํารองในการเดินทาง เช่น หน้ากากสำรอง เผื่อเปียกชื้น เจลแอลกอฮอล์ เป็นต้น 
  3. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาการเดินทาง ละเว้นการเปิดหน้ากากโดยไม่จําเป็น
  4. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร 
  5. ควรงดกินอาหารและเครื่องดื่มระหว่างเดินทาง หลีกเลี่ยงการพูดคุยโดยไม่จําเป็น
  6. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนขึ้นรถโดยสารประจําทาง รถไฟ เรือ เครื่องบินและหลังการใช้บริการ หรือทุกครั้งที่มีการสัมผัสอุปกรณ์สิ่งของที่ใช้ร่วมกัน และเมื่อกลับถึงบ้าน ควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  7. ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรการในการเดินทาง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด
  8. ผู้โดยสารทุกคนมีการคัดกรองด้วย Thai Save Thai (TST) หรือแอปอื่น ๆ
  9. มีหลักฐานการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์หรือใบรับรองแสดงประวัติเคยติดเชื้อมาก่อน อยู่ในช่วง 1-3 เดือน หรือผลการตรวจ ATK ภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน (เป็นเอกสาร หรือหลักฐาน digital ตามที่กําหนด) หรือเป็นไปตามเงื่อนไขจากจังหวัดปลายทาง

 

การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานีขนส่งสาธารณะ

สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน

  1. อาคารสถานี สถานที่จําหน่ายบัตรโดยสาร ชานชาลา ที่พักผู้โดยสาร ศูนย์การขนส่งสาธารณะ ภายในท่าอากาศยาน ล็อบบี้ ร้านค้า ร้านอาหาร และบริเวณโดยรอบ มีการจัดสภาพแวดล้อม ที่เป็นระเบียบทั้งภายในและภายนอกอาคารเป็นสัดส่วน อุปกรณ์ที่ให้บริการประชาชนมีความสะอาดปลอดภัย
  2. มีการจัดระเบียบการจราจรภายในสถานีขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันมลพิษและฝุ่นละออง
  3. มีการควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนําโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ปลอดภัย
  4. มีการทําความสะอาดโดยรอบ บริเวณพื้นผิว และบริเวณที่มีการใช้งานร่วมกัน เช่น เก้าอี้นั่งพักคอย เคาท์เตอร์จําหน่ายตั๋วโดยสาร ปุ่มกดตู้จําหน่ายเครื่องดื่ม มือจับประตู ลูกบิดประตู ราวบันได เป็นประจําทุกวัน
  5. จัดให้มีระบบระบายอากาศภายในอาคารที่ดี เช่น เปิดประตู หน้าต่าง เป็นระยะ เพื่อให้อากาศถ่ายเท ทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นอาคารปิดและใช้ระบบปรับอากาศ ให้มีการทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ และแนะนําให้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ภายในอาคารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง เป็นต้น
  6. กรณีใช้ระบบปรับอากาศแบบหอพึ่งเย็น ต้องมีการจัดการเชื้อแบคทีเรียชนิดลีจิโอเนลลา (Legionella) ด้วยการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างเหมาะสม และเป็นไปตามประกาศกรมอนามัยเรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลาในหอผึ่งเย็นของอาคารในประเทศไทย
  7. สถานที่จําหน่ายอาหาร ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ในบริเวณอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารต้องดําเนินการ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 และร้านอาหารได้รับ ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจากพนักงานท้องถิ่น หรือได้ป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste และ Clean Food Good Taste Plus) หรือป้ายรับรอง ของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  8. มีระบบป้องกันอัคคีภัยและการอพยพหนีไฟเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด
  9. การจัดการส้วมสาธารณะสําหรับให้บริการผู้โดยสาร ให้ดําเนินการตามมาตรฐานส้วมสาธารณะ ระดับประเทศ (HAS) เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อจะเน้นพัฒนาส้วมให้บรรลุ 3 เรื่อง คือ สะอาด (Health : H) เพียงพอ (Accessibility : A) ปลอดภัย (Safety : S)
  10. การจัดการสิ่งปฏิกูล ในสถานีขนส่งผู้โดยสาร ควรปฏิบัติดังนี้
  • ระบบท่อและระบบเก็บกักอุจจาระหรือบ่อเกรอะ (Septic Tank) อยู่ในสภาพใช้การได้ดีไม่แตกและไม่รั่วซึม
  • บ่อเกรอะมีการติดตั้งท่อระบายอากาศ เพื่อช่วยระบายก๊าซที่เกิดขึ้นในบ่อเกรอะ
  • มีการสูบสิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะไปกําจัดเมื่อส้วมเต็มหรือสิ่งปฏิกูลมีปริมาณมาก ถังเกรอะที่ออกแบบไว้
  1. ในการสูบสิ่งปฏิกูลควรใช้บริการจากรถสูบสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรถสูบ ของบริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการมูลฝอย มูลฝอยที่เกิดขึ้นจากสถานีขนส่งสาธารณะประกอบด้วย มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยอันตราย ควรมีการนําเนินการ ดังนี้
  • จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยเพียงพอ มีฝาปิดมิดชิด มีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึมมีขนาดเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกและง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย รวมทั้ง มีข้อความว่า “มูลฝอยทั่วไป” มีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • มีการคัดแยกมูลฝอยทั่วไป คือ มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ และมูลฝอยอื่นๆ
  • ให้มีการเก็บรวบรวมมูลฝอยเป็นประจํา มีการทําความสะอาดภาชนะรองรับมูลฝอย และบริเวณโดยรอบเป็นประจําทุกวัน
  • มีที่พักรวมมูลฝอยที่เป็นสัดส่วน ถูกสุขลักษณะ แยกตามชนิดของมูลฝอยเพื่อสะดวก ในการนําไปกําจัดให้ถูกต้องต่อไป ทั้งนี้ จุดรวบรวมมูลฝอยต้องสามารถป้องกันสัตว์ และแมลงพาหะนําโรคได้
  • ต้องมีการกําจัดมูลฝอยแต่ละประเภทที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เลือกวิธีการกําจัดที่เหมาะสม 
  1. การจัดการนํ้าเสีย
  • มีการติดตั้งบ่อดักไขมันบริเวณท่อระบายน้ำเสียก่อนเข้าสู่ระบบบําบัดน้ำเสีย 
  • มีการติดตั้งระบบบําบัดน้ำเสียเพื่อบําบัดน้ำเสียของสถานีขนส่งโดยสารสาธารณะ และการระบายน้ำทิ้งหลังผ่านการบําบัดแล้วไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกําหนด (ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

 

การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานีขนส่งสาธารณะ

การทําความสะอาดยานพาหนะ ประเภทรถโดยสารแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ ทำความสะอาดในจุดที่สําคัญที่ผู้โดยสารสัมผัสบ่อย ด้วยน้ำยาทําความสะอาดทุกรอบที่ให้บริการ

  • ที่จับเหนือหัวผู้โดยสาร
  • เบาะนั่งและหนักพิงด้านหน้าและด้านหลัง
  • ช่องแอร์เหนือหัวผู้โดยสาร
  • ที่พักแขน
  • ราวจับบริเวณประตู

และอุปกรณ์ในการให้บริการอื่น ๆ เช่น ถาดวางอาหาร/แก้ว ปุ่มปรับระดับเบาะ หน้าจอทีวีหลังเบาะ หูฟัง เป็นต้น

  1. มีการระบายอากาศที่ดี ทําความสะอาด พัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  2. รถทุกคันจัดให้มีการถอดเบาะรถโดยสาร ทุกที่นั่งออกมาเพื่อเคาะฝุ่น ดูดฝุ่น ตากแดด และชักทําความสะอาด
  3. จัดให้มีการถอดผ้าม่านมาซักตากหรือการสตรีมผ้าม่าน การถอดฝาปิดช่องแอร์มาล้างการจัดทําความสะอาดภายในรถ คอนโซลคนขับ ซึ่งการทําความสะอาดขั้นสูงโดยเฉลี่ยรถ 1 คัน จะถูกทําทุก 2 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ
  4. สําหรับห้องส้วมในรถทัวร์แบบปรับอากาศ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ให้ทําความสะอาด ด้วยน้ำยาทําความสะอาด ทุกรอบที่ให้บริการ และเน้นในจุดสําคัญที่ผู้โดยสารสัมผัสบ่อย เช่น ที่จับราวประตู โถส้วม ที่กดชักโครก สายฉีดน้ำชําระ เป็นต้น จัดให้มีสบู่ล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ และกระดาษเช็ดมือในห้องส้วมให้เพียงพอ
  5. กรณีมีการจัดบริการอาหารในรถให้เลือกผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
  6. กรณีที่รถโดยสารมีอุปกรณ์อํานวยความสะดวก อื่น ๆ เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน ต้องเปลี่ยนทุกรอบ ที่ให้บริการและนําไปซักให้สะอาด

 

การทําความสะอาดยานพาหนะประเภทรถตู้โดยสาร

ทําความสะอาดในจุดที่สําคัญที่ผู้โดยสารสัมผัสบ่อย ด้วยน้ำยาทําความสะอาดทุกรอบที่ให้บริการ

  • กระจกภายในรถ
  • ที่ปรับระดับเบาะ
  • สายรัดเข็มขัดนิรภัย
  • ที่จับเหนือหัวผู้โดยสาร
  • คอนโซลหน้ารถ
  • ที่จับเปิดประตูด้านในและด้านนอก
  • เบาะนั่งและพนักพิงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  1. ซักทําความสะอาดผ้าม่านเป็นประจํา เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
  2. มีการระบายอากาศภายในรถ และทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศ อย่างสม่ำเสมอ

 

การทําความสะอาดยานพาหนะตู้โดยสารบนขบวนรถไฟ

การทําความสะอาดยานพาหนะ ให้ทําความสะอาดในจุดสําคัญที่ผู้โดยสารสัมผัสบ่อย

  • ราวจับบริเวณประตู
  • พนักพิงด้านหน้าและด้านหลัง
  • ที่จับเหนือหัวผู้โดยสาร
  • ที่พักแขน
  • เบาะนั่ง/นอน
  1. มีการระบายอากาศที่ดี ทําความสะอาด พัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  2. ซักทําความสะอาดจุดที่อาจมี การสะสมของเชื้อโรคเป็นประจํา เช่น ผ้าม่าน ผ้าห่ม ปลอกหมอน
  3. กรณีที่ขบวนรถไฟมีผู้นอน และมีอุปกรณ์อํานวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ผ้าห่ม ปลอกหมอน ต้องเปลี่ยนทุกรอบที่ให้บริการ นําไปซักทําความสะอาดและผึ่งให้แห้ง เพื่อป้องกันโรคติดต่อ ที่เกิดจากสัตว์พาหะนําโรค ได้แก่ ไรฝุ่น ตัวเรือด
  4. สําหรับห้องส้วมในรถไฟ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น ให้ทําความสะอาดด้วยนายาทําความสะอาด ทุกรอบที่ให้บริการ และเน้นในจุดสําคัญที่ผู้โดยสารสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ที่จับประตู โถส้วม ที่กดชักโครก สายฉีดชําระ เป็นต้น และจัดให้มีสบู่สําหรับล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ และกระดาษชําระในห้องส้วมให้เพียงพอ
  5. ในกรณีที่มีการจัดบริการอาหารในรถไฟ ให้เลือกผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร งดเสิร์ฟอาหารเสี่ยง ได้แก่ อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน (เช่น แซนวิช สลัด) และเลือกอาหารแช่แข็งอุ่นร้อนที่มีเลขสารบบอาหาร (เครื่องหมาย อย.)
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH