การจัดการขยะติดเชื้อ ที่เกิดจากการกักตัวบ้านและชุมชน
ขยะติดเชื้อที่เกิดจากการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ได้แก่ ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภค (แบบใช้ครั้งเดียว) และชุดตรวจ Antigen Test Kit เป็นต้น ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูงจึงต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป
กรณีในพื้นที่หรือชุมชนมีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ
- เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อเป็นประจําทุกวัน ใส่ถุงขยะ (ถุงแดง) 2 ชั้น
- ถุงชั้นแรก ให้มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือนํ้ายาฟอกจาว (เช่น ไฮเตอร์)
- ช้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง
- นำไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ
- ประสานหน่วยงาน อปท. หรือ รพ.สต. ในพื้นที่ เพื่อเก็บ ขน และนำขยะติดเชื้อไปกําจัดอย่างถูกต้อง
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที
กรณีในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ
- เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อเป็นประจําทุกวัน ใส่ถุงขยะทั่วไป 2 ชั้น
- ถุงชั้นแรกที่บรรจุขยะติดเชื้อ ให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฟอกขาวลงในถุง เพื่อทําลายเชื้อ
- มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง
- ช้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุง ด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง
- ขยะที่ผ่านการทําลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนําส่ง อปท. ในพื้นที่ เพื่อนำไปกำจัดเป็นขยะทั่วไป
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที