เราควรเริ่มใส่ ‘ฟันทดแทน’ เมื่อไหร่?

  • 4 สิงหาคม 2563
เราควรเริ่มใส่ ‘ฟันทดแทน’ เมื่อไหร่?
เราควรเริ่มใส่ ‘ฟันทดแทน’ เมื่อไหร่?

เมื่อเราสูญเสียฟัน หรือมีการถอนฟันแท้ออกไป
#ฟันยังดี ที่เหลืออยู่ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม

แต่ก็มีตัวช่วยอย่าง #ฟันเทียม หรือ #ฟันทดแทน อยู่
แต่จะรู้ได้อย่างไร ว่าแบบไหนที่จำเป็นต้องใส่ฟันทดแทนบ้าง?

1. กินอาหารแข็งๆ ไม่ได้
พอฟันขาดหายไปหนึ่งซี่ โดยเฉพาะในฟันกราม ก็อาจทำให้เรากัด/เคี้ยวอาหารแข็งๆ เช่น ถั่ว น้ำแข็ง ขนมขาไก่ ไม่ถนัดเหมือนเดิมทำให้ต้องกินแต่อาหารอ่อนๆ เท่านั้น

2. เคี้ยวไม่ละเอียด
ฟันที่หายไป อาจส่งผลถึงการบดเคี้ยวของเรา ทำให้ท้องอืดประจำเพราะเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดดีพอ

3. กัดอาหารไม่ขาด
หากฟันที่สูญเสียไป เป็นฟันที่ใช้สำหรับกัดหรือฉีกอาหาร ก็อาจจะกลายเป็นกัดอาหารไม่ขาด เหลือเป็นชิ้นใหญ่ๆ กลืนลำบาก

4. ป้องกันฟันล้ม
ถ้าหากต้องถอนฟันซี่ใดซี่หนึ่งออกไป ก็จะเหลือช่องว่างเหงือกทิ้งไว้ ทำให้ฟันซี่ที่เหลืออาจล้มเอียงไปยังช่องว่างได้

5. ไม่มั่นใจในรอยยิ้ม
เมื่อฟันหายไป โดยเฉพาะในฟันหน้า อาจทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจเวลาพูดคุยกับคนอื่น หรือไม่อยากยิ้มกว้าง การใส่ฟันทดแทนจะช่วยเติมเต็มความมั่นใจให้กับเราได้

6. มีปัญหาในการพูด ร้องเพลง ฯลฯ
อวัยวะในช่องปาก ฟันและลิ้น มีส่วนสำคัญต่อการพูด การออกเสียง รวมไปถึงการร้องเพลง ดังนั้นหากสูญเสียฟัน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการออกเสียงได้เช่นกัน

พบกับ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

โดยสามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่

1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH