ปากแห้ง น้ำลายน้อย คืออะไร?

  • 26 ตุลาคม 2563
ปากแห้ง น้ำลายน้อย คืออะไร?
‘ปากแห้ง/น้ำลายน้อย’ เป็นปัญหาที่มักพบในวัยเก๋า
โดยมีอาการที่สังเกตได้เอง เช่น
 
🗣 รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
🗣 น้ำลายเหนียว ข้น
🗣 เจ็บภายในปาก แสบลิ้น ลิ้นแห้ง แดง ไม่รู้รส
🗣 มุมปากแตก ริมฝีปากแห้งบ่อย ๆ
🗣 พูด เคี้ยว กลืนลำบาก
 
และถ้าอยาก #ฟันยังดี ต่อไปนาน ๆ เราก็ต้องดูแลและแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน!
เพราะภาวะปากแห้งมักนำไปสู่ปัญหาในช่องปากอื่น ๆ มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันผุ จากการที่มีน้ำลายซึ่งเป็นพระเอกในการสร้างสมดุลในช่องปากน้อยเกินไป
 
สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง/น้ำลายน้อย
ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่มักพบบ่อย ๆ ได้แก่
 
📍ผลข้างเคียงจากโรคประจำตัว/การใช้ยาบางชนิด
ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรควิตกกังวล ฯลฯ
รวมทั้งการใช้ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ฯลฯ
 
📍อายุที่เพิ่มขึ้น
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ต่อมน้ำลายจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทั้งนี้ เมื่อร่วมกับการกินยาเพื่อรักษาโรคประจำตัวบางชนิด จะยิ่งทำให้ภาวะปากแห้ง/น้ำลายน้อยมีความรุนแรงมากขึ้น
 
📍การรักษาโรคมะเร็ง
การฉายรังสีหรือทำเคมีบำบัดอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำลาย โดยเฉพาะการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอ
 
📍การสูบบุหรี่/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักมีอาการปากแห้งได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
 
📍ภาวะขาดน้ำ
ทั้งที่เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ ฯลฯ
หรือสไตล์การใช้ชีวิต เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือเสียเหงื่อมาก ๆ เป็นต้น
 
อย่าลืมติดตาม ‘วิธีป้องกันและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปากแห้ง’ ในตอนต่อ ๆ ไป ได้ที่ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’ โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH