‘รากฟันผุ’ เรื่องร้าย ๆ ที่วัยเก๋าต้องรู้

  • 2 พฤศจิกายน 2563
‘รากฟันผุ’ เรื่องร้าย ๆ ที่วัยเก๋าต้องรู้
รากฟันผุ
เรื่องร้ายๆ ที่วัยเก๋าต้องรู้
 
ฟันผุปกติก็ว่าลำบากแล้ว
ถ้าผุถึงรากนี่เป็นมากแค่ไหนกัน?
 
 ฟันผุที่รากฟัน เกิดได้อย่างไร⚠️
– อาการเหงือกร่นที่เกิดเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ​ ทำให้รากฟันโผล่ซึ่งจะ​ไม่มีเคลือบฟันปกคลุม
– ปากแห้ง น้ำลายน้อย ทำให้ช่องปากขาดตัวช่วยปรับสมดุล
 
ลักษณะการเกิดฟันผุที่รากฟัน
ฟันผุที่รากฟัน มักเกิดบริเวณคอฟัน​ และซอกฟันที่มีเหงือกร่นหรือบริเวณที่เศษอาหารสะสมมาก ทำความสะอาดไม่ค่อยทั่วถึง เช่น ฟันกรามซี่ท้ายๆ ฟันด้านกระพุ้งแก้ม บริเวณรอยต่อฟันเทียมกับฟันธรรมชาติ​ ได้แก่​ ตำแหน่งตะขอที่เกาะตัวฟัน
ส่วนมากมักจะละเลยการตรวจฟันบริเวณนี้ กว่าจะทราบว่ารากฟันผุก็เป็นมากแล้ว จนมีอาการเสียวหรือปวดแล้ว
 
การป้องกันการเกิดฟันผุที่รากฟัน
– แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟันให้สะอาด
– คอยทำความสะอาดซอกฟันด้วยแปรงขนาดเล็กหรือเส้นใยไนลอน
– ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำ
– ตรวจฟันปลอมให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี ไม่หลวมมากเกินไป
– ถอนฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่จำเป็นในการใช้งาน
และจะกลายเป็นแหล่งสะสมเศษอาหาร​ โดยให้ปรึกษาทันตแพทย์​เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสม
 
อย่าได้ปล่อยปละละเลยว่า “แก่แล้ว ไม่เป็นไร” เพราะฟันถาวรเก็บไว้ใช้ได้ตลอดชีวิต ควรดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคช่องปากและฟัน
 
พบกับ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH