จั่งซี้มันต้องถอน … หรอ?

  • 16 มิถุนายน 2564
จั่งซี่มันต้องถอน​ …หรอ?
วัยเก๋าเป็นอันหนักอกหนักใจ
เมื่อถึงวันหนึ่ง จู่ ๆ ฟันคู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา
ก็ไม่รักดี มีอาการงอแงซะอย่างนั้น
แต่จะถึงกับต้อง #ถอนฟัน เลยหรือไม่นั้น
ควรต้องให้ทันตแพทย์พิจารณาอาการและความเหมาะสมอย่างถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เพราะนอกจากการถอนฟันจะทำให้สูญเสียฟันอย่างถาวรแล้ว
#วัยเก๋า ก็ยังมีปัจจัยทางสุขภาพหลายอย่างที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย
#ฟันยังดี ชวนมาดูว่าโรคฟันที่ #วัยเก๋า มักเจอมีอะไรบ้าง มีทางเลือกการรักษาแค่ไหน ก่อนจะเล่าถึงความเสี่ยงและการปฏิบัติตัวภายหลังถอนฟันให้ฟังกันแบบครบสุด ๆ
 
💚 ‘โรคฟัน’ ยอดฮิตใน ‘วัยเก๋า’ มีอะไรบ้าง?
– ฟันผุ รากฟันผุ
รักษาอย่างไรได้บ้าง: อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน ถอนฟัน ฯลฯ
– ฟันโยก เหงือกอักเสบ
รักษาอย่างไรได้บ้าง:  ขูดหินปูน เกลารากฟัน ถอนฟัน ฯลฯ
– ฟันแตก ฟันหัก ฟันสึก
รักษาอย่างไรได้บ้าง: อุดฟัน ครอบฟัน ถอนฟัน ฯลฯ
💚 ‘ถอนฟัน’ เสี่ยงอะไรบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว การถอนฟันโดยทันตแพทย์นั้นปลอดภัย แต่บางครั้งก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น
– ปวดแผล
– แผลติดเชื้อ/บวม
– เลือดไหลไม่หยุด
– ชาในช่องปาก
– กระดูกขากรรไกรหัก
💚 ‘ถอนฟัน’ แล้วทำอย่างไร?
ถ้าทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่า #จั่งซี่มันต้องถอน
#วัยเก๋า ก็ควรดูแลตัวเองหลังถอนฟันดังนี้ค่ะ
– กัดผ้าก๊อซ 1-2 ชั่วโมง
เพื่อให้เลือดบริเวณแผลที่ถอนฟันหยุดสนิท แต่หากยังมีเลือดซึม ๆ อยู่ ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซแล้วกัดต่อจนกว่าเลือดจะหยุดสนิท
– งดบ้วนปากแรง ๆ
เพราะอาจทำให้เลือดที่หยุดแล้วกลับมาไหลได้อีก
– แปรงฟันเบา ๆ
เพื่อป้องกันไม่ให้แผลถอนฟันกระทบกระเทือน มีเลือดออก
– ไม่ดูด/ใช้ลิ้นดันแผล
เพราะอาจทำให้เลือดออก แผลหายช้า หรืออักเสบได้
นอกจากนี้ เพื่อให้เคี้ยวอาหารได้ดี แนะนำให้ #วัยเก๋า ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อใส่ฟันทดแทนฟันที่ถอนไปด้วยนะคะ
พบกับ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH