ใครไม่สึก ฟันสึก! ตอน: ฟันสึกด้านบดเคี้ยว/ปลายฟันสึก

  • 16 มิถุนายน 2564
ใครไม่สึก ฟันสึก!
ตอน: ฟันสีกด้านบดเคี้ยว/ปลายฟันสึก
วัยเก๋ามักจะเจอกับปัญหา ‘ฟันสึก’
โดยเฉพาะบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันหลัง หรือปลายฟันหน้า
เพราะฟันผ่านการใช้งานมายาวนาน
ฟันสึกทำให้ฟันมีรูปร่างเปลี่ยนไป
ส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร และความสวยงาม
เรามาดูกันครับว่า ‘ฟันสึก’ เป็นอย่างไร
ทำไมจึงสึก และเราจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง! 
#ฟันยังดี
💚 ‘ฟันสึก’ หน้าตาเป็นอย่างไร?
– ด้านบดเคี้ยวของฟันกรามสึกกว้าง หวำเหมือนถ้วย
ผิวเรียบ มักมีสีเข้มขึ้น เศษอาหารติดง่ายขึ้น
– ปลายฟันหน้าสึกแบนราบหรือหวำเหมือนถ้วย
ผิวเรียบ ฟันเตี้ยลง และมักมีสีเข้มขึ้น
*อาจมีอาการเสียวฟันร่วมด้วย หรือไม่มีก็ได้
❓ ทำแบบไหนเสี่ยง ‘ฟันสึก’❓
– เคี้ยวอาหารแข็งเป็นประจำ เช่น กระดูก น้ำแข็ง ถั่ว ผลไม้เปลือกแข็ง ฯลฯ
– กินของเปรี้ยว/ของหมักดอง/น้ำอัดลมบ่อย ๆ ทำให้ผิวฟันอ่อนแอและสึกง่ายขึ้น
– นอนกัดฟัน
– กัดเค้นฟันเวลาเครียด
✅  ป้องกันอย่างไร? ✅       
– หลีกเลี่ยงการกินอาหารแข็ง/ของเปรี้ยว/ของหมักดอง/น้ำอัดลม
– ปรับพฤติกรรมการกิน เช่น ทุบเม็ดถั่วให้เล็กลงก่อนกิน
ไม่อมเครื่องดื่มรสเปรี้ยว/น้ำอัดลมในปาก ฯลฯ
– หลีกเลี่ยงความเครียด โดยพยายามทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส
แต่ถ้า #วัยเก๋า ท่านไหนมีฟันสึกด้านบดเคี้ยวหรือปลายฟันสึกมากๆ
#ฟันยังดี แนะนำให้ไปพบหมอฟัน เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะครับ👨‍⚕️
พบกับ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH