‘โรคเหงือก’ โรคยอดฮิตใน ‘วัยเก๋า’

  • 16 มิถุนายน 2564
โรคเหงือก
โรคยอดฮิตใน วัยเก๋า
‘โรคเหงือก/ปริทันต์อักเสบ’ เป็นโรคในช่องปากที่พบได้บ่อยใน ‘วัยเก๋า’
โดยผู้ที่มีอายุ 60-74 ปี มีปัญหาเหงือกอักเสบมากถึงร้อยละ 48.6
และปริทันต์อักเสบ (รำมะนาด) ร้อยละ 36.3
(ข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย)
การดูแลช่องปากในวัยเก๋า จึงต้องใส่ใจทั้งสุขภาพเหงือกและฟัน
ไม่งั้นอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ครับ
#ฟันยังดี
📌 สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
– การแปรงฟันไม่สะอาด ทำให้มีเศษอาหาร/คราบเชื้อโรคสะสมที่คอฟันและซอกฟัน       
– โรคเบาหวาน โดยเฉพาะที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้   
– การสูบบุหรี่
📌 ลักษณะ/อาการ
     👉 โรคเหงือกอักเสบ
– ขอบเหงือกแดง/บวม  
– มีเลือดออกขณะแปรงฟัน
– อาจมีเศษอาหารติดที่ซอกฟัน เคี้ยวอาหารแล้วเจ็บได้
**หากไม่รีบรักษาอาจกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีความรุนแรงกว่าได้**
     👉 โรคปริทันต์อักเสบ (รำมะนาด)
– ฟันโยก/เหงือกร่น      
– มีกลิ่นปาก
– กรณีเป็นรุนแรง อาจมีเหงือกบวม/หนองใต้เหงือก ซึ่งทำให้ปวดฟันได้
**หากไม่รีบรักษาอาจต้องถอนฟันได้**
📌 การป้องกัน
  1. แปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างสม่ำเสมอ
  2. พบหมอฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. ควบคุมโรคเบาหวาน
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หากมีอาการของโรคเหงือก/ปริทันต์อักเสบ ควรรีบพบหมอฟันเพื่อตรวจและรักษานะครับ
เมื่อฟันยังดี เหงือกยังดี สุขภาพช่องปากของเราก็จะดีครับ!
พบกับ #ฟันยังดี เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับ ‘คนวัยเก๋า’
โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
 
สามารถติดตามฟันยังดี ได้ที่
1. LINE: @funyoungdee และ 2. กดไลค์กดติดตาม Facebook ฟันยังดี
อยากรู้อะไรเกี่ยวกับฟัน เราจัดให้ !
© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH