ข้อปฏิบัติการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

  • 2 พฤศจิกายน 2563

ข้อปฏิบัติการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

Food-based dietary guidelines

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของหญิงตั้งครรภ์

  1. กินอาหารให้ครบ 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้หลากหลายในปริมาณที่แนะนำตามธงโภชนาการ และหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์แต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์
  2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  3. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์เป็นประจำ
  4. กินผักให้มาก กินผลไม้รสหวานน้อยเป็นประจำและหลากหลายสี
  5. ดื่มนมรสจืด และกินอาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียมอื่น ๆ
  6. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด ให้ใช้เครื่องปรุงรสเค็มเสริมไอโอดีน
  7. กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
  8. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  9. งดอาหารหมักดอง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก (แรกเกิดจนถึงอายุ 12 เดือน)

  1. ให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน ไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ
  2. เริ่มให้อาหารตามวัยที่มีคุณภาพและครบ 5 หมู่ทุกวัน เมื่ออายุ 6 เดือน ควบคู่ไปกับนมแม่*
  3. เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตามวัยเมื่ออายุลูกเพิ่มขึ้น จนครบ 3 มื้อ เมื่อลูกอายุ 10-12 เดือน
  4. ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณและความหยาบของอาหารขึ้นตามอายุ
  5. ให้อาหารสธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการปรุงรส
  6. ให้อาหารที่สะอาดปลอดภัย
  7. ให้ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม
  8. ฝึกวิธีดื่มกินให้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย
  9. เล่นกับลูก สร้างความผูกพัน หมั่นติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

*ถ้าการเจริญเติบโตมีแนวโม้มลดลง หรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่ อาจเริ่มให้ก่อนได้แต่ไม่ก่อนอายุครบ 4 เดือน

          ข้อปฏิบัติการให้อาการเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กเล็ก (อายุ 1-5 ปี)

  1. ให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีคุณภาพ ไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน
  2. ให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายเป็นประจำทุกวัน
  3. ให้นมแม่ต่อเนื่องถึง 2 ปี เริ่มด้วยนมรสจืดวันละ 2-3 แก้ว
  4. ฝึกให้กินผักและผลไม้รสหวานน้อยจนเป็นนิสัย
  5. ฝึกฝนให้กินอาหารรสธรรมชาติ ไม่หวานจัด มันจัด และเค็มจัด
  6. ให้อาหารสะอาดและปลอดภัย
  7. ให้ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลม
  8. ฝึกฝนวินัยการกินอย่างเหมาะสมตามวันจนเป็นนิสัย
  9. เล่นกับลูก สร้างความผูกพัน หมั่นติดตามกาเจริญเติบโตและพัฒนาการ

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กวัยเรียน/วัยรุ่น

  1. กินอาหารให้ครบ 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้หลากหลายในปริมาณที่แนะนำตามธงโภชนาการและหมั่นดูแลน้ำหนักและส่วนสูง
  2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  3. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์เป็นประจำ
  4. กินผักให้มาก กินผลไม้รสหวานน้อยเป็นประจำ และหลากหลายสี
  5. ดื่มรมรสจืด และกินอาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียมอื่น ๆ
  6. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด ให้ใช้เครื่องปรุงรสเค็มเสริมไอโอดีน
  7. กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
  8. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  9. งดอาหารหมักดอง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

[แม่และเด็ก] #แม่และเด็ก #วัยเรียนวัยรุ่น #วัยทำงาน #ผู้สูงอายุ #โภชนาการ

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH