เจตนารมณ์ สถานที่จำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะไม่เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค
สถานที่จำหน่ายอาหาร อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโทคได้ทันที ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
หมวด 1 สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร
- พื้น ผนัง เพดาน สะอาด วัสดุแข็งแรง ไม่ชำรุด และทำความสะอาดง่าย
- การระบายอากาศ เพียงพอและต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- แสงสว่าง เพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ
**ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง กำหนดค่าของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 - ที่ล้างมือ และอุปกรณ์สำหรับล้างมือถูกสุขลักษณะ
- โต๊ะเตรียม ปรุง ประกอบ หรือจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซ.ม. มีสภาพดี ทำความสะอาดง่าย
- โต๊ะหรือเก้าอี้ ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องสะอาด ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง
- ส้วม มีสภาพดี พร้อมใช้ เพียงพอ (ตามกฎกระทรวงฯ กําหนดส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะในร้านจําหน่ายอาหารและหรือเครื่องดื่มและสถานีบริการการจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซสําหรับยานพาหนะ พ.ศ. 2555)
- สะอาด พื้นระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง มีการระบายอากาศที่ดี และมีแสงสว่างเพียงพอ
- อ่างล้างมือ ถูกสุขลักษณะ
- ต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียมปรุง ประกอบอาหาร
- มูลฝอย ถังรองรับมูลฝอย สภาพดี ไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอย (ให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในสถานที่จำหน่ายอาหาร)
- น้ำเสีย มีระบบระบายน้ำได้ดี มีการแยกไขมันไปกําจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำและน้ำทิ้งได้มาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- การป้องกันสัตว์แมลงนำโรค รวมถึงสัตว์เลี้ยงตามหลักวิชาการ
- ป้องกันอัคคีภัย จากการใช้เชื้อเพลิงในการปรุง ประกอบอาหาร
*บทเฉพาะกาล : ข้อ 22(1) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตรม. ให้ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุง ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ (ดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2562)
หมวด 2 สุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการทำ ประกอบหรือปรุง การเก็บรักษา และการจำหน่ายอาหาร
- อาหารสด มีคุณภาพดี สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภคเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นสัดส่วน มีการปกปิด ไม่วางบนพื้น หรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อน
**ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีกำหนดอุณหภูมิในการเก็บรักษาอาหารสดในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 - อาหารแห้ง ต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อน และมีการเก็บอย่างเหมาะสม
- อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร และสิ่งอื่นที่นำมาใช้ในกระบวนการประกอบหรือปรุงอาหารต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (อย.)
- อาหารปรุงสำเร็จ ต้องเก็บในกาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซ.ม. มีการควบคุมคุณภาพอาหารปรุงสำเร็จให้สะอาด ปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร
**ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จ พ.ศ. 2561 - มีการจัดการสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหาร
**ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของการจำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 - น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มที่เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ต้องวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 15 ซม. และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ กรณีที่เป็นน้ำดื่มที่ไม่ได้เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หรือเครื่องดื่มที่ปรุงจำหน่าย ต้องบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิดและป้องกันการปนเปื้อน โดยต้องวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซ.ม. - การปรุงประกอบอาหารต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคที่กรมอนามัยกำหนด
- ใช้น้ำแข็งที่สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
- เก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด
- ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้ามสำหรับคีบ หรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ
- ห้ามนำอาหาร หรือสิ่งของอย่างอื่น ไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค
- น้ำใช้ต้องเป็นน้ำประปา ในท้องถิ่นที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพ เทียบเท่าน้ำประปาหรือเป็นไปตาม
คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย สภาพดี - สารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหาร ติดฉลากและป้ายให้ชัดเจน
- ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหารและห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมี
- ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการปรุง ประกอบอาหารบนโต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
- ห้ามใช้เมทานอล หรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงในการปรุง ประกอบอาหาร
** เว้นแต่เป็นการใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง **
หมวด 3 ภาชuะอุปnรณ์ และเครื่องให้อื่นๆ
- ภาชนะ สะอาด ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด จัดเก็บในที่สะอาด
วางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซ.ม. มีการปกปิด หรือป้องกันการปนเปื้อน
** จัดให้มีช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน ** - ตู้เย็น ตู้แช่ ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ และอุปกรณ์อื่นๆ สะอาด สภาพดี ปลอดภัย
- ภาชนะอุปกรณ์ ที่รอการทำความสะอาด ต้องเก็บในที่ป้องกันสัตว์แมลงนำโรคได้ ทำความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ ใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม และมีการฆ่าเชื้อ ภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้
ภายหลังการทำความสะอาด
หมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลผู้สัมผัสอาหาร
- ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
** โนกรณีที่เจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงาน และรักษาให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานได้ ** - ผู้สัมผัสอาหารต้องไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค โดยมีน้ำและอาหารเป็นสี่อ เช่น อหิวาตกโรด ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบเอ และโรคอื่นๆ ตามประกาศ สธ. และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
** ต้องผ่านการอบรม ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ **
** ประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลักเกณฑ์การอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561
บทเฉพาะกาล : ข้อ 22(2) การอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร ให้ดำเนินการภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ (ดำเนินการอบรมภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2563) - ติดต่อสอบถามการอบรมได้ที่หน่วยงานท้องถิ่น ตามที่ตั้งของสถานที่จำหน่วยอาหาร
บทกำหนดโทษ
- ประกอบกิจการ ไม่ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท
- ประกอบกิจการ ไม่ได้รับใบอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,0๐0 บาท
- ฝ่าฝืนกฎกระทรวงฯ ระวางโทษ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- พบเห็นผู้กระทำผิดแจ้งได้ที่หน่วยงานท้องถิ่น ตามที่ตั้งของสถานที่จำหน่วยอาหาร