โภชนาการ

ขับถ่ายไม่คล่อง…ท้องผูก…โรคเกิด

  • 6 กันยายน 2562

คนเราสามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การถ่ายปัสสาวะ เหงื่อ และการถ่ายอุจจาระในแตล่ะวันปริมาณการขับถ่ายอุจจาระของแต่ล่ะคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาหารที่กินถ้าเป็นอาหารที่มีกากใยมากก็จะทำให้มีอุจาระ มากและหากถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด ใช้เวลาถ่ายนาน หรือไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันหลายวัน ทำใจได้เลย นี่คืออาการ “ท้องผูก” แน่นอน

เมื่อท้องผูก ปัญหาที่ตามมาคือกากอาหารจะตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน ทำให้บูดเน่า และเกิดพิษต่อร่างกาย ทำให้ลำไส้ ไม่สะอาด เลือดลมปั่นป่วน เกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานในร่างกายและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ดังนี้

  • มะเร็งลำไส้

ท้องผูกทำให้ลำไส้ไม่สะอาด เมื่ออุจจาระ ตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน จะเกิดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดซึ่งทำให้ลำไส้ เป็นแผลและเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

  • โรคตับ

ตับมีหน้าที่ขับสารพิษที่ตกค้างใน ร่างกายสารพิษที่เกิดจากอาการท้องผูก ต้องใช้ตับขับออก เช่นกัน ทำให้ตับทำงาน หนักขึ้นและตับเสื่อมลง เมื่อท้องผูก เป็นประจำ ส่งผลให้การขับสารพิษไม่ เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อาการท้องผูก ยิ่งทำให้ ผู้ป่วยโรคตับมีอาการกำเริบและ ทรุดหนัก

  • โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต สูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเบ่ง อุจจาระแรงๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือทำให้ อาการต่างๆ ทรุดหนัก

  • ริดสีดวงทวาร

 เมื่ออุจจาระตกค้างอยู่ ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน จะเกิดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งทำให้ลำไส้เป็นแผลและเสี่ยง ต่อการเป็นเนื้องอกและมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ได้

  • แก่ก่อนวัย

กากอาหารที่บูดเน่าจะเกิดสารพิษ เช่น สารแอมโมเนีย ไนโตรเจน อินโดลมีเทน กำมะถัน เมื่อสารเหล่านี้ดูดซึมกลับเข้าสู่ร่าง กายพร้อมกับ น้ำในลำไส้ จะทำให้อวัยวะ ต่างๆ ของเราเสื่อมเร็วมากขึ้น และ ผิวพรรณหยาบกร้าน แก่ก่อนวัยอันควร การขับถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน จะช่วย ถนอมผิวพรรณและชะลอความชรา

ดังนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงกับโรคดังกล่าว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค  โดย ลดปริมาณเนื้อสัตว์ลงบ้าง  อาจเปลี่ยนเป็น เต้าหู้และถั่ว  เลี่ยงอาหารไขมันสูง  ชากาแฟ เน้นอาหารคาร์โบไฮเดรตและ  มีเส้นใย อาหารสูง  เช่น  ข้าวกล้อง  รวมทั้งกินผัก และผลไม้สดให้ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณ อาหารที่ เรากินในแต่ละมื้อ หรือเลือกอาหาร ที่มีฤทธิ์ระบาย เพื่อให้ขับถ่ายได้สะดวก เช่น มะละกอ กลว้ ย มะขาม ลูกพรุน มะเดอ่ื แห้ง ใบขี้เหล็ก  สมอไทย  สะตอ  และดื่มน้ำให้ เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน

 

 

 

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

ดาวน์โหลด eBook สุขภาพ

แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพพร้อมให้คุณดาวน์โหลดไปศึกษาฟรี!