โภชนาการ

สุขภาพดีเริ่มต้นที่… อาหาร ลด หวาน มัน เค็ม

  • 12 กันยายน 2562
ลด หวาน มัน เค็ม

อาหารเป็นสิ่งที่ร่างกายได้รับโดยการกิน ดื่ม หรือการได้รับทางหลอดเลือดก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อร่างกาย แต่ถ้าพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง เหมาะสม อาหารก็ทำร้ายร่างกายได้ โดยทำให้เกิด โรคที่เรียกว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรควิถีชีวิต ดังนั้น เราต้องฉลาดที่จะกินอาหาร ไม่ปล่อยให้ อาหารกินเรา อาหารที่เราควรมีสติอย่างมากในการ กินคือ ไขมัน แป้ง (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ) น้ำตาล เกลือ และโดย เฉพาะเครื่องปรุงที่มีรสเค็ม

มารู้จักความเค็ม

ความเค็มที่เรารู้จักกันดีคือเกลือ และเกลือ มาจากโซเดียมคลอไรด์ ที่เป็นส่วนประกอบของ เครื่องปรุงเค็ม ได้แก่น้ำปลาซีอิ๊ว และซอสต่างๆ

กินเค็มเท่าไร

การที่กินเค็มได้มากน้อยแค่ไหนกำหนดไว้ ด้วยปริมาณโซเดียม ซึ่ง 1 วัน ไม่ควรบริโภคเกิน

โรคไต ความดันพุ่ง ถ้ามุ่งกินเค็ม

อาหารเค็มเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงจาก รายงานทางระบาดวิทยาระบุว่า การกินเกลือมาก สัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อลดการกิน เกลือลงจะลดความดันโลหิตทั้งในผู้ที่มีความดัน โลหิตปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และยัง ทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น

การกินเกลือในปริมาณสูงยังเป็นสาเหตุของ โรคไต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ ทำให้เกิดการบวมน้ำ และหัวใจวายได้ และหากร่างกายได้รับโซเดียม มากจะทำให้การขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ เพิ่มขึ้นพบได้ในทุกเพศทุกวัย นำไปสู่การสูญเสีย แคลเซียมจากกระดูก ทำให้มีภาวะกระดูกบางได้

เทคนิคง่ายๆ ในการลดอาหารเค็ม

 ชิมก่อนปรุงทุกครั้งลดการเติมเครื่องปรุงรส  เพราะในเครื่องปรุงรสเกือบทุกชนิดมีโซเดียมสูง  ลดการกินอาหารแปรรูปต่างๆ ได้แก่ ไส้กรอก

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

ดาวน์โหลด eBook สุขภาพ

แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพพร้อมให้คุณดาวน์โหลดไปศึกษาฟรี!