คำแนะนำการป้องกันความเสี่ยงและการดูแลตัวเอง กรณีความร้อน 1. เด็กแรกเกิด – 5 ขวบ : “อากาศร้อน ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด”
ดูแลให้เด็กดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน หมายเหตุ: เด็กแรกเกิดที่ยังดื่มนมแม่ คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เด็กอายุ 1 – 3 ปี ควรดื่มน้ำ 1.3 ลิตรต่อวัน และเด็กอายุ 4 – 5 ปี ควรดื่มน้ำ 1.7 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงให้เด็กดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดูแลเด็กให้อยู่ในบ้านพัก อาคารหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลม โดยเปิดให้ห่างจากตัว อย่าหันพัดลมเป่ามาที่ตัวเด็กโดยตรง ให้เปิดพัดลมแบบส่าย เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศที่ร้อน หมายเหตุ: เพราะที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมจ่อเข้าตัว ความร้อนจะเป่าเข้าสู่ตัวทำให้ร่างกายร้อนขึ้น หากอากาศร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงพาเด็กออกนอกบ้าน ถ้าจำเป็นควรสวมหมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว มีสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี และกางร่ม เพื่อป้องกันแสงแดด อย่าปล่อยให้เด็กอยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังโดยเด็ดขาด หมายเหตุ: รถที่จอดตากแดดโดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ อาจมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ได้ภายใน 20 นาที ดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กเจ็บป่วยง่ายกว่าผู้ใหญ่ หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน ควรพบแพทย์ทันที ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669 2. ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป : “อากาศร้อน ผู้สูงอายุควรสังเกตอาการ หากผิดปกติรีบไปพบแพทย์”
ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หมายเหตุ: ผู้ชายควรดื่มน้ำ 3.7 ลิตรต่อวัน ผู้หญิงควรดื่มน้ำ 2.7 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลม โดยเปิดให้ห่างจากตัว อย่าหันพัดลมเป่าเข้าตัวโดยตรง ให้เปิดพัดลมแบบส่าย เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศที่ร้อน หมายเหตุ: เพราะที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมจ่อเข้าตัว ความร้อนจะเป่าเข้าสู่ตัวทำให้ร่างกายร้อนขึ้น หากอากาศร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน ถ้าจำเป็นควรสวมหมวก เสื้อแขนยาวมีสีอ่อน กางเกงขายาว หลวม มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี กางร่มเพื่อป้องกันแสงแดด และพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น ตะคริว ผดผื่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิด และควรพบแพทย์ทันที ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669 3. ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว : “อากาศร้อน คนมีโรคประจำตัวเตรียมยาให้พร้อม”
ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หมายเหตุ: ผู้ชายควรดื่มน้ำ 3.7 ลิตรต่อวัน ผู้หญิงควรดื่มน้ำ 2.7 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลม โดยเปิดให้ห่างจากตัว อย่าหันพัดลมเป่าเข้าตัวโดยตรง ให้เปิดพัดลมแบบส่าย เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศที่ร้อน หมายเหตุ: เพราะที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมจ่อเข้าตัว ความร้อนจะเป่าเข้าสู่ตัวทำให้ร่างกายร้อนขึ้น หากอากาศร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน ถ้าจำเป็นควรสวมหมวก เสื้อแขนยาวมีสีอ่อน กางเกงขายาว หลวม มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี กางร่มเพื่อป้องกันแสงแดด และพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา เตรียมยาให้พร้อม และหากเป็นผู้ป่วยติดเตียง ควรดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพัง หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น ตะคริว ผดผื่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิด และควรพบแพทย์ทันที ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669 4. ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน : “อากาศร้อน เลี่ยงทำงานกลางแจ้ง ช่วง 11.00 -15.00 น. และดื่มน้ำทุก 15 นาที” ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ทุก ๆ 15 นาที ในระหว่างที่ทำงา น ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เปลี่ยนตารางเวลาทำงานกลางแจ้ง โดยเริ่มทำงานในช่วงเช้า หลีกเลี่ยงการทำงานในช่วง 11.00-15.00 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดของวัน หมายเหตุ: Centers for Disease Control and Prevention (CDC) มีคำแนะนำให้ผู้ที่ทำงานหลีกเลี่ยงทำงานกลางแจ้ง ในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดของวัน คือ 11.00 – 15.00 น. ในช่วงพักควรเข้าไปอยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ภายในอาคารหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรสวมหมวก เสื้อแขนยาวมีสีอ่อน กางเกงขายาว หลวม มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี ทาครีมกันแดด และพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา ควรทำงานเป็นกลุ่ม และหมั่นสังเกตอาการผู้ร่วมงานซึ่งกันและกัน หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น ตะคริว ผดผื่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งผู้ดูแล หัวหน้างาน หรือผู้ใกล้ชิด ผู้ประกอบการควรอบรมพนักงานในการดูแลผู้ป่วยหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669 5. ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง : “อากาศร้อน ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรหลีกเลี่ยงออกกำลังกาย กลางแจ้ง และดื่มน้ำบ่อย ๆ”
ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงที่อากาศร้อน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วง 11.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดของวัน สวมใส่ชุดออกกำลังกายที่ระบายความร้อนได้ดี หากจำเป็นต้องออกกำลังกายกลางแจ้ง สวมหมวกบังแดด ทาครีมกันแดด และพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา ควรออกกำลังกายเป็นกลุ่ม และหมั่นสังเกตอาการผู้ร่วมออกกำลังกายซึ่งกันและกัน หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น ตะคริว คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที และควรพัก โดยเข้าไปอยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือภายในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669 6. หญิงตั้งครรภ์ : “อากาศร้อน หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้ง และดื่มน้ำบ่อย ๆ ” ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ในระหว่างวัน ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลม โดยเปิดให้ห่างจากตัว อย่าหันพัดลมเป่าเข้าตัวโดยตรง ให้เปิดพัดลมแบบส่าย เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศที่ร้อน หมายเหตุ: เพราะที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมจ่อเข้าตัว ความร้อนจะเป่าเข้าสู่ตัวทำให้ร่างกายร้อนขึ้น หากอากาศร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน ถ้าจำเป็นควรสวมหมวก เสื้อแขนยาวมีสีอ่อน กางเกงขายาว หลวม มีน้ำหนักเบาระบายความร้อนได้ดี กางร่มเพื่อป้องกันแสงแดด และพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น ตะคริว ผดผื่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669