โภชนาการ

พิษร้าย ปลาปักเป้า

  • 9 กันยายน 2562

แม้ว่าจะมีการเตือนถึงอันตรายของพิษปลาปักเป้า และห้ามนำเนื้อปลามาบริโภค แต่เราคงได้ยินข่าวว่า ประชาชนกินเนื้อปลา ปักเป้าจนเสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับปลาปักเป้าให้มากขึ้น เพื่อป้องกันตนเองกันดีกว่า

สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากพิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า “เตโตรโดทอกชิน” (Tetrodotoxin) พบมากในไข่ ตับ น้ำดี กระเพาะ ลำไส้ หนังปลา รวมถึงเนื้อปลา

อันตรายของพิษจะส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อภายใน 10-15 นาที หรืออาจนานถึง 4 ชั่วโมง แล้วแต่ปริมาณที่ ได้รับพิษ ทำให้เส้นประสาทไม่ทำงาน อาการของผู้ที่ได้รับพิษจะมี 4 ระยะ คือ

  • ระยะแรก มีอาการชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ระยะที่ 2 ชาและอาเจียนมากขึ้น อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเดินหรือยืนไม่ได้
  • ระยะที่ 3 กล้ามเนื้อกระตุก พูดลำบากหรือพูดไม่ได้
  • ระยะที่ 4 หายใจไม่ออก ไม่รู้สึกตัว ตามตัวมีสีเขียวคล้ำ หากไม่ได้รับการรักษาถูกต้อง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ห้ามกินเนื้อปลา ปักเป้าโดยเด็ดขาด และต้องใส่ใจเลือกซื้อปลาจากร้านค้าให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อปลาที่ แล่สำเร็จ หรือไม่รู้แหล่งที่มา เพื่อจะได้กินปลาอย่างปลอดภัย

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH

ดาวน์โหลด eBook สุขภาพ

แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพพร้อมให้คุณดาวน์โหลดไปศึกษาฟรี!